การประเมินประสิทธิภาพระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาการวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาระบบตามทฤษฏี SDLC กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพระบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบุคลากร เครื่องมือในการวิจัย คือ ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาและแบบประเมินประสิทธิภาพระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาสามารถใช้งานได้จริง บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงนำข้อมูลบุคลากรได้ตรงตามความต้องการ ซึ่งระบบดังกล่าวประกอบด้วย 16 ส่วน ได้แก่ ระบบแสดงข้อมูลบุคลากรทั้งหมด ระบบแสดงข้อมูลบุคลากรแบบแยกสังกัด ระบบสมัครสมาชิก ระบบล็อกอิน ระบบเพิ่มข้อมูลความเชี่ยวชาญ ระบบเพิ่มข้อมูลด้านคุณวุฒิ ระบบเพิ่มข้อมูลด้านงานบริหาร ระบบเพิ่มข้อมูลด้านงานสอน ระบบเพิ่มข้อมูลด้านเอกสารหรือตำรา ระบบเพิ่มข้อมูลด้านงานวิจัย ระบบเพิ่มข้อมูลด้านการตีพิมพ์งานวิจัย ระบบเพิ่มข้อมูลด้านบริการวิชาการ ระบบเพิ่มข้อมูลด้านทำนุศิลปวัฒนธรรม ระบบเพิ่มข้อมูลด้านวิทยากร-ถ่ายทอดความรู้ ระบบเพิ่มข้อมูลด้านผลงานหรือรางวัล และระบบเพิ่มข้อมูลด้านเกียรติบัตร-ประกาศนียบัตร 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบ จากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D. = 0.50)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจาลอง ครูอุตสาหะ. (2544). การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจาลอง ครูอุตสาหะ. (2544).วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Life Cycle : DBLC).กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
จาวาสคริปต์. (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562,จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จาวาสคริปต์.
ชาลี วรกุลพิพัฒน์ และเทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์. (2544). วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ยูเอ็มแอล (Unified Modeling Language : UML).กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฐานข้อมูล PHP My Admin.(2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562, จาก https://www.aosoft.co.th/article/310/phpMyAdmin-คืออะไรA3.html
ธีรพล ด่านวิริยะกุล. (2549). วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ยูเอ็มแอล (Unified Modeling Language : UML).กรุงเทพ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
ภาษาพีเอชพี. (2562).สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาพีเอชพี
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.10(2) , 34-53.
เอ็ม.ดี.ซอฟต์จำกัด. (2562). เว็บแอพพลิเคชั่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://mdsoft.co.th/ ความรู้/359-web-application.html.
สถานศึกษากับระบบสารสนเทศ.(2563). สืบค้นวันที่ 25 สิงหาคม 2562, จากhttps://sites.google.com/site/comnstru58/bth-thi-2
สุกัญชลิกา บุญมาธรรม, จิรวัฑฒ์ แก้วโกศล และเอกพงษ์ ทองแท้. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม,3(2), 39–45.
อารียา ทวีศรี,ณัฐกานต์ ภาคพรต และ วีระชัย คอนจอหอ.(2560).ต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1), 145–150.
สแตร์.(1996). ขั้นตอนการพัฒนาระบบแบบ SDLC (System development life cycle). สืบค้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562, จาก http://pstudiodev.blogspot.com/2012/04/sdlc-symtem-development-life-cycle.html.