การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

ธีรภัทร โคตรบรรเทา
รังสรรค์ ลุนบง
สัญญารัก จันทรอุดร
รุ่งรัตน์ ธรรมทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มที่ 2  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1 และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายฯ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายฯในปีการศึกษา 2563จำนวนประชากรทั้งสิ้น 157 คน และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง(Simple Size) โดยใช้ตารางของ Krejcie & Morganจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายฯ พบว่าความต้องการจำเป็นPNImodifiedในภาพรวมเท่ากับ 0.645 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจด้านการแสดงความคิดเห็น ด้านการประเมินผล ด้านการดำเนินงาน ด้านการจัดสรรผลประโยชน์ และด้านความรับผิดชอบ มีค่าเท่ากับ 0.85,0.43,0.66,0.52,0.82 และ 0.59 ตามลำดับ  2)แนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายฯ มี 6 ด้าน เรียงลำดับตามความต้องการที่จะพัฒนาสูงสุดประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจด้านการจัดสรรผลประโยชน์ด้านการประเมินผล ด้านความรับผิดชอบ ด้านการดำเนินงาน และด้านการแสดงความคิดเห็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล สุดประเสริฐ. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2550). ผลกระทบต่อสถาบันการศึกษาจากอัตราการเกิดที่ลดลง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์

พรชุลี อาชวอำรุง. (2551). การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร์

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม.กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ศิราวุธ นันทะวงศ์. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3, วันที่ 11กรกฎาคม พ.ศ. 2558. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น.

ครรชิต ชัยกิจ, ละเอียด จงกลนี และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2563).ภาวะผู้นำทางวิชาการและพุทธวิธีในการจัดการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 165-175.

Boice, R. (1992). Lessons learned about mentoring. In M. D. Sorcinelli& A. E. Austin (Eds.).Developing new and junior faculty, New directions for teaching and learning:No. 50. (pp. 51–61). San Francisco: Jossey-Bass.

Shadid, Prins. and Nas. (1982). Handbook of experimental measurement. New York: weley.