ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 4

Main Article Content

บรรจบ เกตุชมภู
ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

          การค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ตลอดจนประเทศไทยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยได้กำหนดนโยบายและแผนเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งหาคำตอบปัญหาการวิจัย คือ ปัญหาในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีแนวทางในการบริหารจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภาค 4 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภาค 4 โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัย 2 วิธี คือ  1) การศึกษาทางเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการจดบันทึกข้อมูลและการบันทึกเสียง ผ่านการตรวจความถูกต้องเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 24 คน ประกอบด้วย ผู้กำกับการ 4 คน รองผู้กำกับการ 6 คน สารวัตร 4 คน รองสารวัตร 5 คน และผู้บังคับหมู่ 5 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ผลการศึกษาตามกรอบแนวคิดการบริหาร POSDCoRB 7 ด้าน พบว่า 1) ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 4 พบปัญหา 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการจัดกำลังคน ด้านการประสานงาน และด้านงบประมาณ ส่วนอีก 2 ด้าน คือ ด้านการอำนวยการ และด้านการรายงาน นั้นไม่พบปัญหา และ 2) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 4 การศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการแก้ไขครอบคลุมปัญหา 5 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา สุขสมัย และประสพชัย พสุนนท์. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 7(2), 9-25.

ชยุต มารยาทตร์ และไชยา ยิ้มวิไล. (2560). การบริหารจัดการสถานีตำรวจตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีตำรวจ. วารสารการบริหารปกครอง. 6(1), 446-468.

ทรงพล วัธนะชัย พยอม วงศ์สารศรี และสุเทพ เชาวลิต. (2554). แนวทางการบริหารงานสถานีตำรวจนครบาลสู่ องค์กรแห่งความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 7(2), 63-77.

ภีมพจน์ น้อมขอบพิทักษ์. (2563). แนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(1), 141-155.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

วรรณา แจ้งจรรยา. (2556). การบริหารงานด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. การศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สนัน ยามาเจริญ. (2561). ปัญหาในการสอบสวนคดีค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับและนานาชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ. 2(1), 183-197.

สุนทร เอกพันธ์ นิติ ผดุงชัย และไฉไล ศักดิวรพงศ์. (2556). ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551 กรณีศึกษาตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 3(1),79- 85.

สุนิษา ราชภัณฑ์. (2560). แนวทางการพัฒนาบุคลากรของสหวิชาชีพในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 4(2), 25- 50.

สุรสิทธิ์ เบญญาวัฒนาศิริ และนิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(2), 42-52.

Gallagher, A.T. (2010). The International Law of Human Trafficking. New York: Cambridge University Press.

Gulick, L. & Urwick, L. (1937). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Hart, J. (2009). Human Trafficking. New York: The Rosen Publishing Group.

Keo, C. (2013). Human Trafficking in Cambodia. New York: Routledge.

Mishra, V. (2013). Human Trafficking: The Stakeholders’ Perspective. Thousand Oaks, California: SAGE Publications.

Thurmond, V. A. (2001). The point of triangulation. Journal of Nursing Scholarship. 33(3), 25-38.