ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของเยาวชนไทย พฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังเกิดโรคโควิด-19 และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังโควิด-19 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ตัวอย่าง สรุปผลงานวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-25 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพการสมรส โสด ประกอบอาชีพนักศึกษา มีระดับรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคกลาง สรุปผลของพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังโควิด-19 เริ่มจากการหาข้อมูลการท่องเที่ยวโดยเยาวชนไทยนิยมหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต รองลงมาเป็นข้อมูลที่ได้มาจากญาติและเพื่อน การท่องเที่ยวนิยมไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ชมวิวและถ่ายรูปลงโซเซียล ลักษณะการเดินทางนิยมไปกับเพื่อน รองลงมาเป็นครอบครัวและนิยมเดินทางโดยรถส่วนตัวมากกว่ารถสาธารณะ ด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่ปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายสำหรับห้องพัก
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานสถิติการท่องเที่ยว ปี 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563, จาก www.mots.go.th.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานสถิติการท่องเที่ยว ปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563, จาก www.mots.go.th.
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, อุษณีย์ ผาสุก, ศรัญญา ศรีทอง, กฤติยา สายณะรัตร์ชัย และชมพูนุท ภาณุภาส (2562). การรับรู้ ความเสี่ยงของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นแซดต่อการจองโรงเรียนที่พักทางอินเทอร์เน็ต. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 25-36.
ธัญมาศ ทองมูลเล็ก และ ปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมการสื่อสารสังคม, 2(10), 114-124.
วันทนีย์ แสนภักดี. (2562). แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1), 36-49.
อรุณี อินทรไพโรจน์. (2561). ธุรกิจการท่องเที่ยวออนไลน์ (e-Tourism). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561, จาก http//www.blog.rmutt.ac.th/?p=76.
Cochram, W.G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Conbach, L.J. (1990). Essentials of psychology testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.
McQuail (2000). Mass Communication Theory . New York: SAGE Publicatiion.
World Health Organization. (ม.ป.ป.). Coronavirus Disease (COVID-19) Questions and Answers. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561, จาก https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19.
www.marketeeronline.com วันที่ 17/09/2019 Influencer Marketing.
Forbes และ Digital Marketing Institute. (2562). ใส่ชื่อหัวข้อเรื่อง. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายยน 2562, จาก www.marketeeronline.com