การจัดการท่องเที่ยวในเขตทหารโดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ชนิษฐา ใจเป็ง

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวในเขตทหารโดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในจังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน 2) วิเคราะห์ศักยภาพของสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกของทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน และ 3) สร้างกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวในเขตทหารโดยหน่วยงานอย่างยั่งยืน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกภาคสนาม สุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีเจาะจง โดยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในเขตทหารพื้นที่หน่วยงาน จำนวน 50 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล การวิเคราะห์คำหลัก (Domain Analysis)และการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามเรื่องราว (Event Analysis) ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษมีทรัพยากรทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นอันอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ มีจุดแข็งในด้านภูมิทัศน์รวมถึงทัศนียภาพที่สวยงาม การสร้างแผนกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวคือ พัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตทหาร สร้างเครือข่ายพันธมิตร และประสานงานระหว่างหน่วยงานทหารในจังหวัดลพบุรี อีกทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้านการท่องเที่ยวซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตทหารอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธณัฐ วรวัตน์ สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9 (2) , 71 – 80.

บรรจบ มูลเชื้อ. (2563). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่กองทัพเรือ.วารสารมหาจุฬาวิชาการ .7(1) , 288 – 300.

แผนแม่บทการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร. (2563).แผนแม่บทการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2563 – 2570. เอกสารประกอบการประชุมสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบกหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี วันที่ประชุม 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.

แผนการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร นสศ.(2563). แผนการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร นสศ.โดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.เอกสารประกอบการประชุมสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบกหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี วันที่ประชุม 2 กันยายน พ.ศ. 2563.

พรรษรัตน์ เจริญรัตน์ และ ศิริเพ็ญ ดาบเพชร.(2563).แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร กรณีศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก.เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 หน้า 701-712.

พัฏฐ์รดา แสงศรี และ ฐิรชญา มณีเนตร. (2560). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร: กรณีศึกษา กองพลทหารม้าที่ 3 ค่ายเปรมติณสูลานนท์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 1737 – 1742

สุพจน์ เพ็ชรคง. (2560). แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินกองทัพเรือ (ค่ายกรมหลวงชุมพร).(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุวัตร์ โตเสวก และ จารึก แก้วผลึก. (2556). บทบาทหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ในพื้นที่ระวังป้องกัน เมื่อเข้าสู่อาเซียน 2558. รายงานการศึกษาในหมวดวิชาที่ 2 หลักสูตรเสนาธิการทหาร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร. กองทัพบก.

สำนักงานการท่องเที่ยวของกองทัพบก. (2561). แผนยุทธศาสตร์แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร กองทัพบก พ.ศ.2561 –พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.(2563). กิจกรรมท่องเที่ยวเมืองทหาร. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2563 จาก http://library.tru.ac.th/index.php/inlop/lptour/168-lptuso.html

Chatriwisit, R., Phoochinda, S., Somboonphan, W., Hemman, S., Sawangphrai, K., Laoruchiralai, R., Ninchoo, W.(2011). Strategic Management. (In Thai). (3rd ed.). Bangkok: Phimdee Press.

Comino, E., and Ferretti, V. (2016). Indicators-based Spatial SWOT Analysis: Supporting the Strategic Planning and Management of Complex Territorial Systems. Ecological Indicators. 60: 1104-1117

Hutanuwat, N. and Hutanuwat, N. (2008). Thinking Strategy toward SWOT. (In Thai). (7th ed.). Ubon Ratchathani:Ubon Ratchathani University Printing House.

Theepaparn, P. (2008). Strategic Management. (In Thai). Bangkok: Amorn Press.