การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธนพรรณ ทองโพธิ์ใหญ่

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่นและ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่นข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากแบบสอบถามผู้ซื้อผ้าไหม จำนวน 384คนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบผลการวิจัยพบว่ามี 12 ปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมีค่า KMO เท่ากับ 0.959 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 68.42 ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมมีรูปแบบสวยงาม 2) ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมทันสมัยตรงความต้องการ 3) พนักงานสามารถแนะนำสินค้าที่นำมาขายได้4) สั่งซื้อได้ทางโทรศัพท์ 5) พนักงานมีบุคลิกภาพดี แต่งกายสะอาด เรียบร้อยแบบไทย  6) มีราคาขายส่งและขายปลีกที่แตกต่างกัน 7) มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า 8) มีส่วนลดจากการเป็นสมาชิก 9) มีการกำหนดราคาเท่ากันในทุกช่องทางการสั่งซื้อ 10) ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมมีคุณภาพคงทน 11) สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์วิสาหกิจชุมชนและ 12) พนักงานสามารถเล่าความเป็นมาของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้  และจาก 12 ปัจจัย ผู้วิจัยได้นำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ทำการวิพากษ์ได้รูปแบบที่ตั้งชื่อเรียกว่า 1S 1E 3P ได้แก่ 1) Style (รูปแบบ) 2) Electronic Media (มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์) 3) Procurement Resources (มีการจัดหาทรัพยากร) 4)Price : Member Price (มีการกำหนดราคาสมาชิก)และ 5) Place: In Department Store(จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัช ทะเพชร และกนกอร บุญมี (2560).กลยุทธ์การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1),201-212.

คมชัดลึก. (2560).ตรานกยูงพระราชทาน”การันตีคุณภาพไหมไทย.สืบค้นเมื่อวันที่20สิงหาคม 2561, จาก https://www.komchadluek.net/news/agricultural/290876.

จิราวัฒน์ มันทรา. (2559). การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผ้าไหมในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.วารสารธรรมทรรศน์,16(3),77-93.

นงนุช อิ่มเรือง และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม.วารสารการบริหารท้องถิ่น,4(2),1-15.

มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จกรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวงจังหวัดร้อยเอ็ด.Veridian E-Journalฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,9(3), 1632-1645.

วัลย์จรรยา วิระกุล. (2561).แนวทางการเพิ่มมูลค่าผ้าไหมมัดหมี่ที่มีประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,12(3),532-547.

ศศิพร ต่ายคําและนรินทร์ สังข์รักษา.(2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn Universityฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1),606-632.

อรนุชา อุปนันท์สืบชาติ อันทะไชย และ พนา ดุลยพัชร.(2561). อิทธิพลเชิงสาเหตุของส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการรับรู้คุณค่าความพึงพอใจและความภักดีของผู้บริโภคของร้านค้าเครื่องประดับอัญมณี.วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2),74-86.

Sincharu, Thanin. (2014). Statistical Research and Analysis with SPSS and AMOS. Bangkok: S.R. Printing Mass Products Co., Ltd.

Teas, R.K. & Agarwal, S. (2000). The effects of extrinsic product cues on consumers’ perceptions of quality, sacrifice, and value. Journal of the Academy of Marketing Science, 28(2), 278-290.