ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23

Main Article Content

บดินทร์ นารถโคษา
ไชยา ภาวะบุตร
วัฒนา สุวรรณไตรย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และความต้องการจำเป็น ของการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 จัดทำและตรวจสอบข้อเสนอเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์และมีแนวทางดำเนินงานสู่ความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบาย มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ทางการศึกษา การศึกษาเชิงสำรวจ การศึกษาพหุกรณี ระยะที่ 2 การยกร่างข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินกลยุทธ์และแบบสอบถามการประชาพิจารณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบของการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ 5) ด้านภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ จำนวนตัวบ่งชี้ 67 ตัวบ่งชี้ ความต้องการจำเป็นโดยรวมจำเป็นทุกด้าน มีค่า PNI Modified เท่ากับ 0.27 2. ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าหมาย 4) ประเด็นยุทธศาสตร์ 5) กลยุทธ์/ตัวบ่งชี้ และ 6) แนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้อง มีความเป็นประโยชน์ และมีแนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการปฏิบัติการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

คำภาสน์ บุญเติม. (2561). ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ทวิศึกษา)ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 2561 (2), 25-32.

จินตนา รวมชมรัตน์ และ สุริยงค์ ชวนขยัน. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัญฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).

ดวงนภา มกราณุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2564). (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เนาวรัตน์ รัตนพันธ์. (2557). กลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2556. สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

พวงมณี ชัยเสรี. (2557). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพแก่นักเรียนด้อยโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ประทีป หมวกสกุล และคณะ. (2556). การทบทวนวรรณกรรม ข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2556 (ฉบับพิเศษ), 66-74.

ประภาพรรณ ปรีวรรณ. (2559). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 204-207.

_____. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 201-214.

_____ . (2559). รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

พัชรกฤษฎิ์ พวงนิล. (2553). กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐในจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พิสมัย ราชชมภู. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2), 95-109.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเงินดี จำกัด.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). เอกสารประกอบการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุชาติ บางวิเศษ. (2559). ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุชาติ บางวิเศษ และ ศักดินาภรณ์ นันที. (2559). ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Wiles, K and J.T. Lovell. (1983). Supervision for Better School. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.