การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % ได้ตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา คือการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบ T-test, F-Test หรือ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในอำเภอเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์ มีระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยใช้องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านกิจกรรมและกระบวนการ และผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยว ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดฉัตรศิลาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

มณฑา เพ็ชรวรรณ และคณะ. (2557). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(1).

วันทนีย์ แสนภักดี. (2562). แนวทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกในมุมมองของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1), 36-49.

สุรเชษฎ์ เชษฐมาส. (2546). การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ท่องเที่ยวไทย. มติชน. หน้า 21.