การเพิ่มผลผลิตการปลูกแตงโมของกลุ่มผู้ปลูกในชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

แก้วมณี อุทิรัมย์
ผกามาศ บุตรสาลี
สายฝน อุไร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community - Base Research : CBR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการปลูกแตงโมชุมชน 2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการจำหน่ายแตงโมของชุมชน และ 3) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของการปลูกแตงโมของชุมชน ได้แก่ มีการเพาะปลูกปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม รวมระยะเวลาในการปลูกประมาณ 60 - 70 วัน นิยมปลูกในฤดูแล้ง และสภาพปัญหาจากการปลูกแตงโมของชุมชน ได้แก่ ดินเป็นกรดไม่สามารถปลูกซ้ำที่พื้นที่เดิมได้ แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ปัญหาศัตรูพืช เช่น ไรแดง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยน้ำตาล และเพลี้ยไฟ เป็นต้น 2) ขนาดพื้นที่ใน การเพาะปลูกแตงโม จำนวน 301.27 ไร่ มีต้นทุนในการปลูกแตงโมของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมของชุมชน ประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ จำนวน 252,680 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ 838.71 บาทต่อไร่ ค่าแรงงาน จำนวน 144,805 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ 480.65 บาทต่อไร่ และค่าใช้จ่ายในการผลิต จำนวน 549,905 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ 1,825.29 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนทั้งสิ้น 947,390 บาท คิดเป็นต้นทุนการปลูกแตงโมเฉลี่ย เท่ากับ 3,144.65 บาทต่อไร่ มีผลตอบแทนจากการจำหน่ายแตงโม จำนวนทั้งสิ้น 1,541,710 บาท คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย เท่ากับ 5,117.37 บาทต่อไร่ และ 3) แนวทางในการเพิ่มผลผลิตของกลุ่มผู้ปลูกแตงโม มีดังนี้ 3.1) การลดต้นทุนการปลูกแตงโม 3.2) ผู้ปลูกต้องมีความใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ตลอดจนถึงขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวแตงโม 3.3) การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน และ 3.4) การส่งเสริมและการพัฒนาความรู้ด้านการเพาะปลูกของเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). ต้นทุนการผลิตและวิธีการลดต้นทุนการผลิต. สืบค้นจาก https://bsc.dip.go.th/th/category/sale-marketing/sm-productioncost, 15 เมษายน 2560).

เจน จันทรสุภาเสน และคณะ. (2563). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้ประกอบการ ความสามารถในการปรับตัวและความสามารถทางนวัตกรรมที่ส่งผลต่อผลประกอบการทางธุรกิจของร้านค้าผู้ประกอบการชุมชนในโครงการธงฟ้าประชารัฐในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 5-18.

ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ. (2560). บทความวิทยุสาระความรู้ทางการเกษตรเรื่องแตงโม. สืบค้นจาก http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio37-38/37-380039.html, 10 เมษายน 2560.

นงลักษณ์ โคตรสมบัติ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และภรณี ต่างวิวัฒน์. (2559). การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตแตงโมของเกษตร จังหวัดนครพนม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2559 วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 485 – 493.

นุชฎา จำเริญสาร และคณะ. (2559). ภูมิปัญญาการทำนาเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตขององค์กรเกษตรกรกลุ่มมดงานสร้างเมืองจังหวัดพิจิตร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริการ ประจำปี 2559 วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), 252-267.

ประเสริฐ วุฒิคัมภีร์ และคณะ. (2554). เทคโนโลยีการผลิตแตงโมอินทรีย์หลังนา : กรณีศึกษาบ้านโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย จังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมีเพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ระหว่างวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม, 460 - 464.

วิทยา อินทร์สอน และคณะ. (2559). การเพิ่มผลผลิต. สืบค้นจาก http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=461, 15 เมษายน 2560.

ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2558). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.