ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการงานการเงินและบัญชี ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ณภัทร ภูนาขาว
ทตมัล แสงสว่าง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อทราบสภาพการใช้บริการงานการเงินและบัญชีในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้บริการงานการเงินและบัญชี ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ในการใช้บริการงานการเงินและบัญชี ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.98 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบแอลฟา ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ค่า KMO ซึ่งใช้ในการประเมินความเหมาะสมของข้อมูล มีค่าเท่ากับ 0.811


            ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อทำการหมุนแกน พิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการงานการเงินและบัญชี ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 1. ด้านการปฏิบัติงานและ  สิ่งอำนวยความสะดวก 2. ด้านการให้บริการ 3. ด้านจุดให้บริการ และ 4. ด้านการวางแผน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิชาการและแผนงาน กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล เทศบาลนครเชียงใหม่. (2563). หลักการให้บริการ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.stou.ac.th/offices/Oce/kmoce1/หลักการให้บริการ%20%20%20%206%20พ.ย.52chap41110604.pdf

จักรแก้ว นามเมือง, ณรงค์ โวหารเสาวภาคย์ และคนอง วังฝายแก้ว. (2560). การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการงานบริการเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

ฐิตารีย์ ดุรงค์ดำรงชัย, อุมาวรรณ วาทกิจ และพงศ์ศรัณย์ พลศรีเลิศ. (2561). สิ่งแวดล้อมของร้านค้าสำหรับลูกค้าผู้สูงอายุ : แบบจำลองแนวคิดและข้อเสนอเบื้องต้น. วารสารการบัญชีและการจัดการ. 10 (2), 13-27.

ทิพย์ประภา สีชาเหง้าและรัชดา ภักดียิ่ง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของหน่วยงานศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 88-98.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2547). การตลาดสำหรับการบริการ:แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปวันรัตน์ อิ่มเจริญกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการสถานที่ให้บริการ พื้นที่ทำงาน Co-Working Space ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปาริชาติ คาพานิช. (2554). ลักษณะของเจ้าหน้าที่ด้านการเงินและบัญชีที่สถานศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).

พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ปิยภรณ์ อภิฐานฐิติ. (2551). การศึกษาทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมความตั้งใจเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมการให้บริการ (กิจกรรมCARE) : กรณีศึกษาพนักงานบริษัทประกันวินาศภัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:กรุงเทพฯ.

ภวัต วรรณพิณ. (2554). การประเมินคุณภาพการบริการของร้าน True Coffee สาขาในมหาวิทยาลัย. (การศึกษาเฉพาะบุคคล. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

ภูวนาถ เทียมตะขบ. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการหลังการขายของรถยนต์ฮอนด์ด้าในเขตจังหวัดปทุมธานี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี).

มณีวรรณ ตันไทย. (2553). พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่กองควบคุมยา สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาที่มีต่อประชาชนที่มาติดต่อ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (บริหารรัฐกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วัชรินทร์ จันทร์สีมาวรรณ, ทตมัล แสงสว่าง และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของงานจัดเก็บรายได้การประปาส่วนภูมิภาค สาขามหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 4-16.

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2559). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

สมิต สัชฌุกร. (2553). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สายธาร.

สุภาภรณ์ คณะเวทย์. (2559). ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการให้บริการงานการเงินโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 13(3), 100-105.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of marketing. 49, 41-50.

Shelly, Maynard W. (1975). Responding to Social Chang. Pensylvania : Dowder, Hutchison Press.