ระบบการควบคุมภายในองค์กร ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย
ขวัญหทัย ใจเปี่ยม
อาทิตย์ สุจเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระบบการควบคุมภายในองค์กรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ในประเทศไทย และ 2)ศึกษาความสัมพันธ์ของระบบ    การควบคุมภายในองค์กรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลผ่าน สื่อออนไลน์ Google Drive, อีเมล์, กรุ๊ปไลน์ และโทรศัพท์ จากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ประกอบด้วย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย จำนวน 752 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผลของระดับความคิดเห็นของระบบการควบคุมภายในองค์กร ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านกิจกรรมควบคุม ระดับความคิดเห็นของผลลัพธ์ในการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านมาตรฐานและความเชื่อถือได้ โดย ระบบการควบคุมภายในขององค์กร ที่ส่งต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับ 0.001 ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คือ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตาม ในส่วนของผู้สอบบัญชีภาษีอากร คือ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านสารสนเทศ และการสื่อสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2561). รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. สืบค้นจาก : https://rdtaxaudit.rd.go.th/TaxAuditInternet/IRPT0110.action [16 มกราคม 2562]

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน. (2547). คำแนะนำ: การนำมาตรฐานการควบคุมภายในไปใช้ในเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ครุสภา.

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.

จุฬาลักษณ์ ฟองมูล. (2554). ความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามมาตรา 404 ของกฎหมายซาเบนส์ ออกซ์เลย์ กับคุณภาพรายงานทางการเงิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เตือนใจ ภักดีล้น. (2558). ความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีต่อความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมภายใน การตรวจบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ทัศนีย์ แสงสว่าง. (2557). แนวทางการประเมินความเสียงการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ลัดดาวัลย์ ยอดบัว และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). อิทธิพลของการควบคุมการสอบบัญชีและความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 342-357.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี. สืบค้นจาก : https://eservice.tfac.or.th/check_cpa/ [14 มกราคม 2562]

สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์, นีรนาท เสนาจันทร์, มัลลิกา เจแคน, ลักขโณ ยอดแคล้ว และวิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ. (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 113-123.

อาณดา โซ่จินดามณี. (2551). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อุบลวรรณ กองสุวรรณกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพงบการเงิน ในมุมมองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Husam Al-Khaddash, Rana Al Nawas and Abdulhadi Ramadan. (2013). Factors affecting the Quality of Auditing: The Case of Jordanian Commercial Banks. International Journal of Business and Social Science, 4(11), 206-222.

Nagy, A. L. and Cenker W. J. (2007). Internal Audit Professionalism and Section 404 Compliance: The View of Chief Audit Executives from Northeast Ohio. International Journal of Auditing, 11(2007), 41-49.

Oseifuah, E. K. and Gyekye, A. B. (2013). Internal Control in Small and Microenterprises in the Vhembe District, Limpopo Province, South Africa. European Scientific Journal, 9(4), 241-251.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

Teketel, T. and Berhanu, Z. (2009). Internal Control in Swedish Small and Medium Size Enterprises. Master Thesis in Business Administration, Umea University.

Tsang, C. Y. (2007). Internal Control, Enterprise Risk Management and Firm Performance. Doctoral Dissertation, University of Maryland.