การส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

สาคร ธงชัย
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา  จำนวนทั้งสิ้น 820 คน  ใช้วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างโดย การคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane , 1973) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็น จำนวน 269 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of item objective congruence) เท่ากับ 0.67 – 1.00 และความเชื่อมั่นสูงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) , ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (mean) ผลการศึกษาพบว่า 1.สภาพปัจจุบัน และ สภาพที่พึงประสงค์ ของการส่งเสริม ตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สภาพปัจจุบัน ของการส่งเสริมตาม บทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับ มาก สภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับ มาก และ 2. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีความสำคัญ คือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนนักศึกษา ด้านให้ความช่วยเหลือและประสานงานกับนักเรียนนักศึกษา ด้านการพัฒนานักเรียนนักศึกษา ด้านการแนะนำและการให้คำปรึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ทัศพร คงมั่น (2558). ศึกษาบทบาทของครูที่ปรึกษาตามความต้องการของนักเรียน โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

นววรรณ พันธุเมธา (2559). ส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์ธร ชุติมานันท์. (2551) บทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2560) . กรุงเทพฯ : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2550). สังคมวิทยา. สงขลา : ไทยนํา.

ลัดดาวัลย์ โภควินท์ (2552).บทบาทและปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2554). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ: แนวคิดและปฏิบัติการกรณีผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศุภาภัส ห้าวหาญ (2558). การศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเพทฯ: สำนักงานฯ.

สินตรา ตรีนุสนธิ์. (2561). ผลการดำเนินงานระบบงานครูที่ปรึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2551). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.

Winston, R.B. Jr., (1988). Developmental academic advising. San Francisco: Jessey-Bass