การพัฒนาความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบ การเล่านิทาน

Main Article Content

ประภัสสร บราวน์
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

                    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมการแสดงประกอบการเล่านิทาน โดยให้เด็กปฐมวัยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทานโดยให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนสนามบิน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้อง 35 คน เครื่องมือที่ใช้ใน      การวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน นิทาน 8 เรื่อง 2) แบบวัดความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยมี 3 ด้านได้แก่ แบบวัดด้านคำศัพท์ ด้านพูดประโยค และด้านการพูดเรื่องราว ผลการวิจัย พบว่า ผลการแสดงประกอบการเล่านิทานคะแนนเต็ม 24 มีคะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) 19.40 คิดเป็นร้อยละ 80.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.51 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด และผลการศึกษาความสามารถในการพูดคำศัพท์ แต่งประโยคปากเปล่าและเล่าเรื่องราว พบว่า ด้านคำศัพท์ จำนวนคะแนนเต็ม 40 มีคะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) 29.57 คิดเป็นร้อยละ 73.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.46 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด ในส่วนด้านการแต่งประโยค จำนวนคะแนนเต็ม 24 มีคะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) 20.97 คิดเป็นร้อยละ 87.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.49 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน  35 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด และด้านการเล่าเรื่องราว จำนวนคะแนนเต็ม 24 มีคะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) 21.14 คิดเป็น   ร้อยละ 88.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2.23 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 35 คน เท่ากับร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองและสารสนเทศที่ผู้ปกครองเด็กอนุบาลต้องการวารสารการศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

เกริก ยุ้นพันธ์. (2547). การเล่านิทาน(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:สุวิริยาส์น.

ณัฐธยาน์ ยิ่งยงค์. (2553). ผลการเล่านิทานพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัยประกอบภาพทีมีต่อพัฒนาการด้านการพูดของเด็กปฐมวัย.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประคอง นิมมานเหมินทร์.(2551).นิทานพื้นบ้าน.กรุงเทพ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา ชัชพงศ์. (2540).โครงสร้างและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย.วารสารการศึกษาปฐมวัย, 1(2), 15.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542).การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2551).ทฤษฏีจิตวิทยาบุคลิกภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน.

แสงสุรีย์ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0 วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(3), 61- 71.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2560). การส่งเสริมศักยภาพทางภาษาและการเรียนรู้หนังสือสำหรับปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Amoriggi, H. (1981).The Effect of Story Telling on Yong Childrens Seguencing Ability. Diation Abstract International in Outdoor Envivonmal Education Program, 39.