การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระอาชีพเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Main Article Content

ปิยะธิดา ประทุมศิริ
ปนัดดา ญวนกระโทก

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระอาชีพที่มีต่อ การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระอาชีพที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบ Single Subject Design รูปแบบการวิจัยชนิด A - B – A  ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระอาชีพที่พัฒนาขึ้น ทำให้นักเรียนที่มี   ความบกพร่องทางการเรียนรู้เกิดการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์กำหนดไว้และนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสังคม 2) ผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระอาชีพที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ พบว่า ความถี่ของพฤติกรรมการพูดคุย ปรึกษาหารือกัน พูดจาโต้ตอบกับผู้อื่น ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้ง 3 คน ในระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.66  2.83 และ 2.33 ครั้ง ตามลำดับ  ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  5.91 6.25 และ 6.16 ครั้ง ตามลำดับ และระยะระงับการให้ ตัวแปรจัดกระทำ (A2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 3.50 และ 3.00 ครั้ง ตามลำดับ และความถี่ของพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้ง 3 คน ในระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.66 2.16 และ 2.83 ครั้ง ตามลำดับ ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 4.75 และ 4.83 ครั้ง ตามลำดับ และระยะระงับการให้ตัวแปรจัดกระทำ (A2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33  3.00 และ 3.16 ครั้ง ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). "ทักษะสังคม" พื้นฐานอยู่ร่วมกันอย่างมีสุข. ค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2562, จาก http://www.kriengsak.com/node/1288

จุฑารัตน์ อ่อนเฉวียง. (2560). กิจกรรมคัดสรรด้านอาชีพโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี. การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561.

ทวีพร ตู้กลาง. (2551). การพัฒนาชุดงานสอนงานประดิษฐ์โดยเทคนิควิเคราะห์งานสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เทียมใจ พิมพ์วงศ์ . (2541). การศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมเรียนร่วมกับเด็กปกติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการเรียนแบบสหร่วมใจ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตการศึกษาพิเศษ.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประนอม ดอนแก้ว. (2550). การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางกายในการเล่นวอลเล่ย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พีเอ.

---------------------. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรำไทย เพรสจำกัด.

พันธุ์ทิพย์ นิลพันธ์. (2558). การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติกด้วยกิจกรรมประกอบอาหาร : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่30, (134-143).

วริศรา จุ้ยดอนกลอย. (2553). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ที่มีภาวะสมาธิสั้น. (ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ).

สมเกตุ อุทธโยธา. (2560). การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ. เชียงใหม่: อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). แนวทางการจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพ:คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาร์ด แอนด์ปริ้นติ้ง.

James C. Raines (2016). Improving the Self-Esteem and Social Skills of Students with Learning Disabilities retrieved on 20th September, 2020 from; https://oxfordre.com/socialwork/view/10.1093/acrefore/9780199975839.001.0001/acrefore-9780199975839-e-1218.

Kohn, J.J., & Vajda, P.G. (1975). Peer-mediated instruction and small group interaction In the ESL classroom.TESOL Quarterly, 4(9), 379 – 390.