แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Main Article Content

พลวัต แสงสีงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครู ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 2,578 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และเมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้จำนวนครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (Means) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาพรวม สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจําเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการจําเป็นในการพัฒนา ลำดับที่ 1 ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ลำดับที่ 2 ด้านการสร้างความหวัง ลำดับที่ 3 ด้านการสร้างความไว้วางใจ ลำดับที่ 4 ด้านการสร้างศรัทธา
2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มีทั้งหมด 4 คุณลักษณะ ประกอบด้วย 1) การสร้างศรัทธา 2) การกำหนดวิสัยทัศน์  3) การสร้างความหวัง 4) การสร้างความไว้วางใจ มีคุณลักษณะย่อยที่ควรพัฒนา 12 คุณลักษณะ และมีแนวทางการพัฒนา 36 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ รุยาพร. (2558). ผู้นําสร้างได้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจํากัด อุดมศึกษา.

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําเชิงจิตวิญญาณสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณัฐณิชา หงส์ชัย. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ตวงทิพย์ ขุนโนนเขา. (2562). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษากรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

นุชนาถ มีสมพืชน์. (2561). ตัวแบบการประยุกต์หลักการภาวะผู้นําเชิงจิตวิญญาณสำหรับผู้สอบบัญชี กลุ่มบริษัทสอบบัญชี ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พลตำรวจตรี กรีรินทร์ อินทร์แก้ว. (2559). ภาวะผู้นําชุมชนทางจิตวิญญาณและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแนวสันติเพื่อความมั่นคงที่ยั่งยืนแบบองค์รวมศึกษาเฉพาะกรณีผู้นำชุมชนในจังหวัดปัตตานี. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ภูริกานต์ วัจน์ประภาศักดิ์. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ วัฒนธรรมองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีการวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40.

วิเชียร วิทยอุดม.(2558). ภาวะผู้นํา (ฉบับแนวใหม่) Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สํานักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนสามัญวิทยอุดมสาส์น.

วรกานต์ อินทรโสภา. (2555). การพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นําทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

เยาวเรศ จิตต์ตรง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําด้านการเรียนการสอนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสิทธิ์ ทินจอง, อดิศร ศรีเมืองบุญ และธีระเดช จิราธนทัต. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกลุ่มสถาบันการศึกษาพิชญบัณฑิต. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

Chen, C., & Yang, C. (2012). The impact of spiritual leadership on organization citizenship behavior: A Multi-sample analysis. Journal of business ethics, 105(1), 107-114.

Fry,W. (2003). Toward a theory of spiritual leadership. The Leadership Quarterly, 14(6)(December 2003), 693-727.

Fairholm, G. W. (1996). Spiritual leadership: fulfilling whole-self needs at work. Leadership & Organizational Journal.

Juhaizi Mohd Yusof & Izah Mohd Tahir. (2011). Spiritual Leadership and Job Satisfaction: A Proposed Conceptual Framework information. Management and Business Review, 2(6), 236-245.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marques, J., Dhiman, S., & King, R. (2007). Leadership Roles and Management Function in Nursing: Theory and Application. 5th ed. R.R. Donnelley – Crawfordsville: Lippinecoll.