แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมชุมชน ตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

วารุณี มิลินทปัญญา
อุไรรัตน์ แย้มชุติ
อรนุช โพธิ์ไพจิตร

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมชุมชนตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาครและ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมชุมชนตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องโดยตรง 4 กลุ่ม ใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบทางด้านโลจิสติกส์      การท่องเที่ยวในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสถานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าด้านการจัดการเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวมีระบบการบริหารจัดการที่ดี นักท่องเที่ยวมีความรักและศรัทธาต่อสถานที่สูง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเดินทาง แสดงให้ถึงระบบการจัดการด้านการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต้องมีการปรับปรุง เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของของชุมชนแล้วพบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมีส่วนร่วมในแต่ละด้านที่แตกต่างกันตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ ในแต่ละส่วนแต่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงในการแก้ไขปัญหาและชุมชนมีส่วนร่วมจัดทำแผนงานการส่งเสริมท่องเที่ยวตำบลพันท้ายนรสิงห์ร่วมกับภาครัฐโดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ดำเนินการจัดทำแผน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2562). สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563, จากhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER073/GENERAL/DATA0000/00000064.PDF.

คณพศ สิทธิเลิศ. (2554). โลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวยุคปัจจุบัน.ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 6(11)มกราคม – มิถุนายน 2554, 1-14.

ประภัสสร แจ้งโพธิ์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ กรณี ศึกษาตลาด 100 ปี สามชุก ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วันทนีย์ แสนภักดี.(2562).แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกในมุมมองของผู้ประกอบการและท่องเที่ยว.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 36-49.

องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์.(2562).นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20สิงหาคม 2563,จาก https://pantainorasingh.go.th/public.

Community-based tourism.(2020). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports and Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization).

Kaosa-ard, M., Untong, A., Pongpatcharatomtep, D., &Anantanasan, N. (2016).ATourismDemand Chain Analysis of the Chinese Tourist Market. Chiang Mai: Login Design Work.

Suriya.K.,(2008).Modelling the linkage between tourism and multiple dimensions of poverty in Thailand, MPRA Paper 33798.Germany: University Library of Munich.

Yamane, Taro.(1973).Statistics: An Introductory Analysis(3rdEd).New York:Harper and RowPublications.

Wang, H., Ynag, Z., Chen, L., Yang, J. & Li, R. (2010). Minority Community Participation in Tourism: Acase of KnaasTuvaVillges in Winjing,China. Toursm Management, 31, 759-764.