การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E

Main Article Content

อนรรฆพร สุทธิสาร
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีจุดประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent sample


          ผลการวิจัยพบว่า (1)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.33/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.58, S.D.=0.69)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และศุภนิตา สุดสวาท. 2556. การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อการผลิต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สา หรับครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(กันยายน-ธันวาคม), 282-290.

ชนกานต์ สุวรรณทรัพย์.(2556).การพัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดนุพล สืบสําราญ และธีรยุทธ เสาเวียง.(2562).การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 1-10.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเบื้องต้นสาหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

พจนา ศรีกระจ่าง.(2556).บทความวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 9(1),154-166.

เลิศศักดิ์ ประกอบชัยชนะ. (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ระหว่างการ สอนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือกับการสอนตามคู่มือครู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546).การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุจิตรา เชื้อกุล.(2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้.(ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

อรรถพล อนันตวรสกุล.(2563).บทความทางการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกการศึกษาจากวิกฤติโควิด-19แล้วอนาคตการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไป.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564,จาก https://www.aksorn.com/learningviaonline.

อรรถโกวิท จิตจักร.(2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่เสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

Gagné, Robert M. (1985). The conditions of Learningand the Theory of Instruction (4th ed.),New York:Holt, Rinehart, and Winston.

Howard,G. (1983).Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences.New York: Basic Books.

Lawson,A.E.(1995). Science Teaching and the Development of Thinking. California: Wadsworth.

Piaget, J. (1960). The Moral Judgement of the Child. lllionis: The Free Press.

Ritchie,D.C.,and Hoffman,B.(1997).Incorporating Instruction Design Principles with the world Wide Web. In Education Technologies, 135-138. Edited by Khan.Englewood Cliffs: Educational Technologies Publication.