การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสตรีนนทบุรี จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test dependent sample ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่อง สมดุลเคมี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/83.50 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.87, S.D. = 0.71)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563, จาก

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/im_commands/im_commands06.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รมว.ศธ.คิกออฟเปิดห้องเรียนออนไลน์ “โรงเรียนหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.obec.go.th/archives/252307

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf

จงรัก เทศนา (2556). การออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographics). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563, จาก http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf

จรรยารักษ์ กุลพ่วง, นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และ เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยาและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการ เรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(3), 265-274.

จุฑามาศ ใจสบาย. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. 3(1), 19-31.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2558). กลยุทธ์การสอนเคมีอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วิสต้าอินเตอร์ปริ้นท์.

ทิพย์รัตน์ มังกรทอง. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8(1), 842-855.

นิศากร เลาหเรืองรองกุล. (2562). การพัฒนาแนวคิดเรื่องสมดุลเคมีและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปบูรณาการกับวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พิเชฐ ศรีสังข์งาม. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นผสานการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2), 2448-2462.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธํารงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2), 22-40.

เสาวลักษณ์ หล้าสิงห์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อิงอร นิลประเสริฐ, เสาวลักษณ์ โกศัย, ดามพิกา ลักษณะวิลาศ และ อุษณีษ์ อ่อนแท้ (2557). Google Site. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563, จาก https://noppakornru.files.wordpress.com/2012/09/google_sites.pdf.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา แนวคิดและการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Johnstone, A.H. (1993). The development of chemistry teaching: A changing response to changing demand. Journal of Chemical Education, 70(9), 701-705.

Klungphet, T and Others. (2015). Education Problems of Thai Children. May 15 2020, from http://goldenorangeblossom.wikispaces.com/. [in Thai]

Koruck, T. and G. Semseddin. (2011). The Effects of Computer Assisted Instruction Practices in Computer Office Program Course on Academic Achievements and Attitudes toward Computer. Science Direct Procedia Social and Behavioral Sciences. 15, 931-1935.