แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของแรงงานต่างด้าว ในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ แรงงานต่างด้าวที่ทำงานก่อสร้างในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่าแรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจัยจูงใจที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบในงาน มากที่สุด รองลงมาคือด้านลักษณะงาน และปัจจัยค้ำจุนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านหลักเกณฑ์การบริหารงาน ด้านความมั่นคงในการทำงานและด้านค่าตอบแทนตามลำดับ ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการจัดหางาน. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559). วารสารสถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานการจัดระบบองค์การเอกชน การเคลื่อนย้ายบุคคลตามข้อตกลงการค้าเสรี และสารสนเทศ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กานดา คำมาก. (2550). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
จันทร์แรม พุทธนุกูล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพสระบุรี จังหวัดสระบุรี. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ: บิสซิเนสอาร์แอด์ดี.
สมชาย หิรัญกิตติ. (2555). การจัดการพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา. (2560). รายงานสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวจังหวัดนครราชสีมา.ไตรมาส 3 ปี2560. นครราชสีมา: สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา.
สิริภัทร์ วงศ์ธีรุตม์. (2546). การเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพเป็นเลิศ. นครปฐม: สายสี่การพิมพ์.
สิริวดี ชูเชิด. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
อรรถพล ชิ้นโภคทรัพย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ฝ่ายผลิตบริษัทแม็กเท็คแมนูเพ็คเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
อัครเดช ไม้จันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Peterson, E., and Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin.
Schindler, P. S., and Sun, J. (2006). Business research methods ( 9th ed). New York: McGraw-hill.