ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารตามสั่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

Main Article Content

อรกนก ปัญญาเลิศ
สายพิณ ปั้นทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารตามสั่ง     ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อ        การตัดสินใจบริโภคอาหารตามสั่งของผู้บริโภคในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และศึกษาปัจจัย       ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารตามสั่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภค โดยใช้การสุ่มแบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) โดยเก็บจากร้านอาหารตามสั่งที่ตั้งอยู่ในนิคมลาดกระบังเลือกมา 9 ร้าน คัดเลือกมาจากร้านในพื้นที่นิคม 9 ซอย ซอยละ 1 ร้าน จำนวน 400 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตเชิงพรรณนา โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเป็นการทดสอบสมมติฐานค่าสถิติที่การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ


        ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 27 – 35 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารตามสั่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังที่ไม่แตกต่างกัน ในส่วนของปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารตามสั่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพร้อยละ 53.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าธนาคารออมสิน. (2562). จำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่. สืบค้นเมื่อวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิตย์).

ธนบวร สิริคุณากรกุล. (2563). ปัจจัยการจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยศรีปทุม).

นรีรัตน์ มาทอง. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาด คุณภาพการบริการและรูปแบบการดำเนินชีวิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามสั่งของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยกรุงเทพ).

ผกามาศ เชื้อประดิษฐ์. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงาน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยสยาม).

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. (2558). Principle of marketing : The modern business management lead to successful. สงขลา: สเตรนเจอส์ บุ๊ค.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด.

โศศิษฐา แดงตา. (2563) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3),41-54.

สุมิตา เปรมปราศภัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์).

Armstrong, G and Kotler, P. (2014). Principle of Marketing (15th ed). United States of America: Pearson Education.