การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และเพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย 2 จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันครูมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ครูควรมีส่วนร่วมในการนิเทศการศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการวางแผนการนิเทศการเรียนการสอน ความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของครู 3 ลำดับแรกคือ การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา การวัดและการประเมินผล และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา สำหรับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน คือ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยทางการศึกษากับสถานศึกษาอื่น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและปรับปรุง การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
ชาลินี ฉายารัตน์. (2550).ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ณรงค์ ผิวอ่อน. (2550). ความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ณัฐรฎา พวงจันทร์. (2553). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป. กรุงเทพฯ: เนติพงษ์การพิมพ์.
นันทกิตติ แก้วกล้า. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
น้ำอ้อย พุ่มเข็ม. (2560). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th.
ประชุม บำรุงจิตร์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
ประสาร พรหมณา. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 25.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พัลลิเกชั่น.
ปาริชาต สุนทร. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2560). กระบวนการสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2),
ไพโรจน์ มินสาคร. (2550). ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหางานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง).
ภาวิณี ครุฑปักษี. (2559). การมีส่วนร่วมของครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่าย กลุ่มคุ้งบางกะเจ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มานิตย์ วงษา. (2556). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศาลาตึกวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, วิทยาลัยทองสุข).
เยาวลักษณ์ บ่อเกิด. (2560). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th.
วรรณวิจิตร ชลธารสีหวัฒน์. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนมัธยม วัดบึงทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th.
วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). รูปแบบการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา. วารสารข้าราชการครู. 22(1), 32.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศาสนาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุลีวัลย์ คนหาญ. (2558). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมวัน เขต 1. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยปทุมธานี).
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หาญณรงค์ กระจงจิตร. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษากรมหลวงชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อารีรัตน์ ศรีชมภู. (2559). ความตองการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(2), 33-49.
เอื้ออารีย์ คำดี. (2560). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th.