แนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

สโรชินี โสภณพัฒนบัณฑิต
รุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม นิยามและให้ความหมายองค์ประกอบการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และกำหนดแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีวิธีการวิจัยโดยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อจำแนกองค์ประกอบ ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน จากผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยต่ำกว่า 9,000 บาท  ซึ่งสามารถจำแนกองค์ประกอบของแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน ได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สินค้าและบริการที่มีความคุ้มค่า (Worthy) ใช้ตัวย่อว่า “W”        (2) การสร้างช่องทางในการสั่งซื้อและเที่ยวซื้อ (Online and On-site) ใช้ตัวย่อว่า “O” (3) การเข้าถึงสินค้าและบริการ (Reachable Access) ใช้ตัวย่อว่า “R” (4) การใส่ใจทุกความผูกพันและความต้องการ (Kindness Care Approach) ใช้ตัวย่อว่า “K” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน ได้ร้อยละ 58.177 และนำองค์ประกอบที่ได้มากำหนดเป็นแนวทาง “WORK” โดยให้นิยามว่า ส่งมอบความคุ้มค่าผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่ายด้วยความใส่ใจทุกระดับการทำงาน สำหรับเป็นแนวทางตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ (1) ซื้อครบจบคุ้ม (2) เพิ่มออนไลน์พัฒนาออนไซต์ (3) รับรู้เพื่อเข้าถึง (4) แบ่งปันความใส่ใจคืนกำไรให้สังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามลดา.

กิจจา ฤดีขจร. (2551). 101 วิธีสมองดี ความจำเลิศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด.

ชี้ช่องรวย. (2562). กสิกรไทย จับมือ ออฟฟิศเมท หนุนเปิดแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อเพื่อธุรกิจ ออฟฟิศเมท พลัส.

สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/24423

โชติมา สุรเนตินัย. (2550). โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของธุรกิจแคทิกอรี่ คิลเลอร์ ประเภทเครื่องเขียนและอุปกรณ์สํานักงานที่มีการสั่งซื้อแบบออนไลน์. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จามจุรีโปรดักท.

เบญจรัตน์ วังนาค. (2559). แผนธุรกิจความต้องการใช้บริการร้าน Multi-label Store และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้าน Multi-label Store. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3702

ประกฤติยา ทักษิโณ (2558). สถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัย: การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประพนธ์ เล็กสุมา. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=349835

ปรียานุช อภิบุณโยภาส. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจในการวิจัยองค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 38–39.

พรภรณี รจิตานนท์ และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2562). การปรับตัวของธุรกิจเครื่องเขียน จังหวัดเชียงใหม่. Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (ปี 14, น. 0012–0022). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://110.164.130.168/index.php/rgrc/article/view/1400

พิรดา โป๊ะลำพงษ์. (2562). แผนธุรกิจร้านเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=562061&query

ภัสสราภรณ์ ดีวัน. (2556). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อวัสดุทางการศึกษาในร้านค้าศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ สาขาราชดำเนิน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 7(14), 53–61.

มณีวรรณ บรรลุศิลป์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (ร้านโชห่วย). วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 1–15.

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รศิกานต์ สุขสมกิจ. (2560). แผนธุรกิจร้านเครื่องเขียน เดอะริซ กิ๊ฟช๊อป. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2684

ลลิตา พ่วงมหา. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าร้านหนังสือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://localhost/xmlui/handle/123456789/1477

วิมลฤดี พันธ์ชูเชิด. (2554). แผนธุรกิจ gift by yourself. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/436

สำนักงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม. (2563). สำนักงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม. (รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564, จาก http://mahasarakham.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=581:mkmreport2563&catid=120&Itemid=716

อนุสรา ธีระเดชชูศักดิ์. (2553). แผนธุรกิจร้านดีจริงศึกษาภัณฑ์ คลอง 3. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/531

อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36–42.

Burns, R. B. (2000). Introduction to research methods (4th ed). London: SAGE.

Comrey, A. L., and Lee, H. B. (2013). A First Course in Factor Analysis. Hove, East Sussex, England: Psychology Press.

De Bono, E. (1973). Lateral thinking: Creativity step by step. New York: Harper Colophon Books.

Kim, J.-O., and Mueller, C. W. (1978). Factor Analysis: Statistical Methods and Practical Issues. California: SAGE

Wiersma, W. (2000). Research Methods in Education: An Introduction. Boston: Allyn and Bacon.