แนวทางการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน บีเอ็ม เซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กัญญานัฐ ศรเพชร
รุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยองค์ประกอบของการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน บีเอ็ม เซ็นเตอร์    อ.เมือง จ.อุบลราชธานี นิยามและให้ความหมายองค์ประกอบของการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน บีเอ็ม เซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และหาแนวทางการบริการของพื้นที่ร่วมทำงานบีเอ็ม เซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีวิธีการวิจัยโดยใช้การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อหาตัวแปรสังเกตได้ และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อจำแนกองค์ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 505 คน ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่  15 - 18 ปี ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนเงินที่ได้รับจากผู้ปกครองเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 500 – 1,000 บาท และมีวงเงินที่ใช้ในการใช้บริการพื้นที่ร่วมทำงานในแต่ละครั้งต่ำกว่า 100 บาท สามารถจำแนกองค์ประกอบของแนวทางการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน ได้ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ระบบการบริการที่สร้างความรู้สึกพิเศษให้กับผู้ใช้บริการ (Fabulous System) ใช้ตัวย่อว่า “F” (2) การให้บริการที่ครอบคลุม (Universal Service) ใช้ตัวย่อว่า “U” และ (3) การบริการพิเศษเฉพาะกลุ่ม (Niche Target) ใช้ตัวย่อว่า “N” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายแนวทางการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน ได้ร้อยละ 67.384 และนำองค์ประกอบที่ได้มากำหนดเป็นแนวทาง “FUN” ให้นิยามว่า นั่งสนุก คิดสบาย บริการอย่างครอบคลุม พร้อมรองรับความต้องการเฉพาะกลุ่ม สำหรับเป็นแนวทางการบริการพื้นที่ร่วมทำงาน บีเอ็ม เซ็นเตอร์ อ.เมือง     จ.อุบลราชธานี จำนวน 3 แนวทาง ได้แก่ (1) Ready to Serve (2) One Stop Service และ (3) Special for Users

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กิตติวัฒน์ สุวรรณวรางกูร. (2559). แผนธุรกิจร้าน Coworking Space. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802030279_5868_4223.pdf

จังหวัดอุบลราชธานี. (2563). เกี่ยวกับจังหวัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564, จาก http://ubonratchathani.go.th/home/464.html

จิตนภา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. (2558). แผนธุรกิจ พื้นที่ให้เช่าทำงานอิสระ Ekamai Co-workingSpace. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2968/1/Chitnapha.somm.pdf

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนเดช ทักษเทวีศิริ. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดธุรกิจ Coworking Space ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://mba.kku.ac.th/ncbmi/proceeding/2015/national/files/673.pdf

ปรียานุช อภิบุณโยภาส. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการวิจัยองค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 38-39.

ปวันรัตน์ อิ่มเจริญกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการสถานที่ให้บริการพื้นที่ทำงาน Co-Working Space ในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902031847_7357_6054.pdf

มนต์ธร บุญรินทร์. (2561). แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการให้เช่าพื้นที่ร่วมทำงานในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด: วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://mba.kku.ac.th/fulltext/viewfile.php?id=3817&no=7

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.sasimasuk.com/15842591/brainstorm-เทคนิคพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

สมพิศ รุจิบรรจงกุล. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจ Coworking Space ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902030310_8023_6766.pdf

สรศักดิ์ พิลาเกิด. (2564). แนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการร้านอาหารประเภทหมูกระทะของผู้ใช้บริการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 115-129.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2559). การเปรียบเทียบผลการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดทุนทางสังคมระหว่างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารบริหาร เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 48-59.

อ้อมจันทร์ วงศ์วิเศษ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการธุรกิจออฟฟิศร่วมแบ่งปันในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2928?show=full

Comrey, A. L., and Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. New York: Psychology Press.

Coworking Resources. (2020). Global Coworking Growth Study 2020. Retrieved 4 January 2021 from https://www.coworkingresources.org/blog/key-figures-coworking-growth

Kim, J.-O., and Mueller, C. W. (1978). Factor Analysis: Statistical Methods and Practical. Newbury park, California: Issues.Sage.

Wiersma, W. (1991). Research Methods in Education: An Introduction. Boston: Allyn and Bacon.