รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11

Main Article Content

พงษ์สวัสดิ์ สายกัน
เพลินพิศ ธรรมรัตน์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตาม  การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 370 คน โดยในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Yamane (1973) ที่ขนาด  ความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าหรือไม่เกิน 5% ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) และยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) กลุ่มเป้าหมายเป็นครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 24 คน จาก 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบประเมินภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 22 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการทำงาน มี     4 ตัวบ่งชี้ 2) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 4 ตัวบ่งชี้ 4) ความเป็นผู้นำในการทำงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 5) สมรรถนะในการทำงานในยุคปัญญาประดิษฐ์ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2562-2571) ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (2562-2571) พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (2562-2571) มีความเหมาะสมโดยรวมมากที่สุด และครูที่เข้ารับการพัฒนามีภาวะผู้นำครูตามการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 3 (2562-2571) เพิ่มขึ้นหลังการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 28.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฐปนีย์ นารี. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

นพรัตน์ อภิวิมลลักษณ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษธิ์วงศ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนการทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะการศึกษาศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ศรัณยา ใครบุตร. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียน มัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ศิริพร กุลศานต์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). สถิติ O-NET ย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865.

สร้อยสุดา กรีน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ส่องแสง อัยวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สิริพรรณ จึงสุทธิวงษ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

อนัตตา ชาวนา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.

York-Barr, J., and Duke, K. (2004). What do We know about teacher leadership? Finding from two decades of scholarship. Retrived from http://www.psycholosphere.com/What_we_know_about_teacherleadership_byYork-Barr.pdf