ผลกระทบของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ งบการเงิน และรายงานประจำปี ระหว่างปี 1 มกราคม พ.ศ.2559 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร จำนวน 55 บริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ในการการวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลในงบการเงิน นำมาทำการวิเคราะห์โดยสูตรอัตราส่วนทางการเงิน จำนวน 8 สูตร และเก็บข้อมูล ทุก ๆ วันสิ้นปี โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวแปรอิสระ จำนวน 1,375 ข้อมูล และตัวแปรตาม 825 ข้อมูล แล้วนำข้อมูลได้ที่จากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์หาค่าถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ระยะเวลาในการเก็บเงินจากลูกหนี้ มีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ แต่ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 2) ระยะเวลาในการเก็บสินค้าคงเหลือ ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ อัตราส่วนยอดขายต่อสินทรัพย์หมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชษิตา เปสตันยี และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2561). ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 42-55.
โชษิตา เปสตันยี และ สรียา วิจิตรเสถียร. (2562). ปัจจัยของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 13(1), 84-104.
ประสพชัย พสุนนท์, นภนนท์ หอมสุด และ ปราณี นิลกรณ์. (2551). การวิคราะห์ปัจจัยอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(117-118), 73-93.
ปรียานุช วงษ์สีชา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2558). การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภานุรุจ เหลืองไชยรัตน์, ตุลยา ตุลาดิลก, ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย และ อธิเมศร์ เชษฐธีระพัชร์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ. วารสารบัณทิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภฎอุบลราชธานี, 16(2), 131-148.
รินลดา แสงบัว. (2559). ได้ทำการศึกษาการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(MAI). (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ. (2556). เงินทุนหมุนเวียน ทางเลือกและทางรอด SME. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 33(1), 9-14.
สุดาทิพย์ ปรัชญาสกุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).