พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยทำการแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนและบริษัท จำกัดที่จดทะเบียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ซึ่งผู้วิจัยได้มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ด้านปัจจัยภายในส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการมีความรู้ด้านภาษีอากรเป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีอากรมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านทัศนคติของผู้เสียภาษี และสุดท้ายด้านต้นทุนค่าจ้างพนักงาน ด้านปัจจัยภายนอกส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างมากเกี่ยวกับความรู้ ด้านบทลงโทษของการเสียภาษีอากรที่ถูกต้องมีผลต่อต่อการวางแผนภาษีอากรและสุดท้ายด้านอัตราภาษี จึงเห็นควรให้มีการกำหนดแนวทางการวางแผนภาษีจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแนวทางปฏิบัติเดียวกันเนื่องจากมีการใช้กฎหมายและกฎระเบียบจากกรมสรรพากรเหมือนกันที่แต่แนวทางปฏิบัตินั้นจะต้องมีความง่ายต่อนำไปปรับใช้กับการดำเนินงานในแต่ละองค์กร เพราะรูปแบบธุรกิจและการดำเนินงานที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้ข้อมูลการวางแผนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการในการยื่นภาษี เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการสูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสรรพกร. (2564). รวมกฎหมายภาษี บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564, จาก https://www.rd.go.th/2600.html.
จักรพงษ์ แผ่นทอง. (2562). การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564, จาก https://krujakkrapong.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0% B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA/
พัชรินทร์ สารมาท. (2553). การวางแผนภาษีอากรขององค์กรขนาดใหญ่ในเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญา, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
พิเชษฐ์ โสภาพงษ์. (2560). ปัจจัยและแนวทางป้องกันการหนีภาษอากรขององค์กรจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารองค์กรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ภัทรภร กินิพันธ์. (2564). ปัญหาการจัดทำบัญชีด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ทำบัญชีในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1),130-138.
อุศณี กอกิตตวนิจ และ มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2553). ความพึงพอใจในการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้เสียภาษีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(16), 28-42.
Appolos N, NWaobia, Jerry D., Kwarbai and Grace O, Ogundajo. (2016).Tax Planning and Firm Value: Empirical Evidence from Nigerian Consumer Goods Industrial Sector. Research Journal of Finance and Accounting, 7(12), 172-183.
George, D., and Mallery, P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide andreference. 11.0 update (4th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Ndegwa Mwangi, Patrick C . (2014). Factors influencing tax compliance among small and medium enterprises in nairobi’s industrial area kenya. (Master of arts in project planning and management of the university of Nairobi). Retrieved from http://41.204.161.209/handle/11295/73605
Palil, Mohd Rizal (2010). Tax knowledge and tax compliance determinants in self assessment system in malaysia. (The thesis submitted to Auckland University of Technology in partial fulfillment of the degree of Master of Business).
Scheider, F. and Enste, D. (2000). Shadow economies around the world: size, causes, and consequences. Forthcoming in Journal of Economic Literature in March or June 2000.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Horper and Row Publication.
Zhang, Ling. (2007). Tax avoidance: causes and solutions. (Master of business. The thesis submitted to Auckland University of Technology in partial fulfillment of the degree of Master of Business).