กลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มยอดขายของโรงงานน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมในการซื้อน้ำแข็งและความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมทางการตลาดของโรงน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และ 2) กำหนดกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มยอดขายของโรงงานน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นลูกค้าส่ง (รถร่วม) เข้ามาใช้บริการและซื้อน้ำแข็ง ความถี่ในการเข้ามาใช้บริการไม่แน่นอน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อน้ำแข็งมากกว่า 1,001 บาท ต่อวัน เวลาที่สะดวกเข้ามาใช้บริการมากที่สุดคือเวลา 06.00-10.00 น. ทราบข้อมูลข่าวสารโรงน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผ่านโดยผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันมากที่สุด ข้อมูลระดับความพึงพอใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำแข็งจากโรงน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก จากการศึกษาสามารถเป็นแนวทางการเพิ่มยอดขายน้ำแข็งของโรงน้ำแข็งสมชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ให้มียอดขายต่อเดือนที่ 1,500,000 บาทขึ้นไป ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการเก่าแลกใหม่ใส่ใจร้านค้าประกอบการ 2) โครงการสมชัยบริการด้วยใจ และ 3) โครงการส่งเสริมการขายตามสายวิ่งรถ ซึ่งใช้งบประมาณรวม 258,000 บาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรสิทธิ์ ตั้งสุรเสียงกุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อซ้ำของผู้บริโภค กรณีศึกษา: โรงน้ำแข็งตั้งสุรเสียงไอซ์ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. (2563). ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ในช่วง 2 ปีหลังจากเกิดภาวะCovid-19 ธุรกิจโรงน้ำแข็ง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
เฉลิมพล ตันสกุล และ จรรยา ไกรยวงษ์. (2561). ความรู้พฤติกรรมการจำหน่ายและคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำแข็งในร้านค้าแผงลอย ตลาดธนบุรี. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 79-89.
ณัฐดนย์ พรรณุจริญวงษ์, ฉัตรชัย เบญจปิยะพร, รพีพัฒน์ ลาดศรีทา และ สุกัญญา ทองโยธี. (2556). การศึกษาพารามิเตอร์ทีมีผลต่อการแข็งตัวของน้ำแข็งหลอด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(3), 63-80.
ธรา มะลัยจันทร์. (2560). แผนธุรกิจโรงน้ำแข็งหลอดปลอดสาร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
ปัญญสิฐ ผาสุกธรรม. (2564). แนวทางการตลาดโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
อรุณี หอมโคกค้อ. (2556). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำแข็งก้อนเล็กในเขตตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
Yamane, T. (1973). Statistics, an Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.