รูปแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

โสภา ขันทะเสน
อรุณ รักธรรม
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
เพ็ญศรี ฉิรินัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (2) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร (3) เสนอรูปแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกจากพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนผู้สูงอายุสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย (1) ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน (2) กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุพบว่ามีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านสันทนาการ และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (2) สภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.01) โดยคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ( gif.latex?\bar{X}= 4.31) คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม ( gif.latex?\bar{X}= 4.24) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ ( gif.latex?\bar{X}= 3.88) และคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ( gif.latex?\bar{X}= 3.60) (3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐและยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 5 แนวทางดังนี้    (1) การป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ (2) การส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุ (3) การส่งเสริมสัมพันธภาพทางสังคมให้กับผู้สูงอายุ (4) การส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ        และ (5) การส่งเสริมการศึกษาให้กับผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย . สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม, (2563). ข้อมูลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครจากฐานประชากรในระบบทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563, จาก http://www.bangkok.go.th

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, บุญเรือง ขาวนวล และ พลภัทร ทรงศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง.วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42 (1), 54-64.

พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 19(2), 55-64.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 25-29.

สุจิตรา ธนานันท์. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: Prantawan Publishing & Printing.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี, ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

John W. Best. (1981). Research in Education. (4th.ed). New Jersey: Prentice-Hall lnc.