แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่- ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ปุญญ์นิรันดร์ อังศุธีรกุล
สิริพร ดงสิงห์
พศวรรตร์ วริพันธ์
เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง อุทัยธานี 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ และอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็น นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งชายและหญิงที่เดินทางไปเยี่ยมชมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี แต่ละกลุ่มมีจำนวน 200 คน . เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าทางสถิติที่จะพิจารณาในการแจกแจงแบบ T ค่าทางสถิติที่จะพิจารณาในการแจกแจงแบบ F นัยสำคัญทางสถิติ (sig) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีจำนวนเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,000 - 25,000 บาท โดยรวม นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ ที่มาเที่ยวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี มีความพอใจในความปลอดภัย รองลงมาคือ การเดินทาง อาหารและเครื่องดื่ม การบริการของพนักงาน ที่พัก ที่ทิ้งขยะ ห้องน้ำ และของฝาก ตามลำดับ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีลักษณะประชากร เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผลการสัมภาษณ์ในเรี่องของ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสามารถสรุป เป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ดังนี้ 1) เพิ่มทางเลือกในการสำรวจ ระบบ นิเวศภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2) เพิ่มพื้นที่กางเต็นท์ พื้นที่ทิ้งขยะและห้องน้ำเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว แต่ต้องเน้นเรื่องการทำให้ ระบบนิเวศในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสียหาย น้อยที่สุด 3) ปรับภูมิทัศน์ภายในพื้นที่ที่ขายสินค้าและบริการ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มาเยี่ยมชมสถานที่ มากขึ้น 4) มีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยวในการดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีความสะอาด สวยงาม และยั่งยืน และ 5 ) พัฒนาการวางแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว การตลาด เชิงสื่อสารเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถสร้างงาน สร้าง อาชีพ ให้คนในชุมชนในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ รักร้อย. (2562). นโยบาย และแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญ จังหวัดอุทัยธานี. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคา 2564, จาก http://www.uthaithani.go.th/

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 265-278.

ทิพย์สุดา พุฒจร. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธณัฐ วรวัตน์, สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 71-80.

พรรษรัตน์ เจริญรัตน์ และ ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร กรณีศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563, วันที่ 1 พฤษภาคม 2563. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย. (2539). นิยามและความหมายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.dnp.go.th/

Cochran, W.G.. (1977). Sampling Techniques (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.

UNESCO World Heritage Centre (2560). Nomination of The Thung Yai – Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. Retrieved 15 January 2021 from https://whc.unesco.org/