การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการทดลอง ในการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการทดลอง เรื่อง คลื่นและแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการทดลองเรื่อง คลื่นและแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องคลื่นและแสง ชุด การทดลอง เรื่อง คลื่นและแสง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest–Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group)
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุด การทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นและแสง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการทดลอง เรื่อง คลื่นและแสง มีคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.obec.go.th/archives/363188
คณาภรณ์ รัศมีมารีย์. (2559). การพัฒนาชุดปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(16), 125-135.
ดนุพล สืบสำราญ และ ธีรยุทธ เสาเวียง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าพิทยาคม จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 1-10.
น้ำฝน คูเจริญไพศาล, เพียงขวัญ แก้วเรือง และ อรพรรณ วันเพ็ญ (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ขยะพลาสติดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 116-132.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-based learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.
มัสยา ธิติธนานันท์. (2552). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองยางพิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
ศรัญญา เกิดศิริ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้บนเว็บเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา รายวิชาชีววิทยา เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
ศรัลยา วงเอี่ยม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 194-201.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับครูและผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2542.(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). การวัดและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Vygotsky. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge: Harvard University Press.
Weir, J. J. (1974). Problem Solving is Everybody s Problem. The Science Teacher, 41(April), 16-18.