แนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ในประเทศไทย

Main Article Content

อุมาวรรณ วาทกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) นำเสนอแนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยที่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 284 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)    ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักเรียน-นักศึกษา ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าผ่าน Facebook โดยซื้อสินค้า 1-2 ครั้งต่อเดือน มูลค่าสินค้าต่อครั้งโดยเฉลี่ย 300-500 บาท และสินค้าที่ซื้อผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สามารถสกัดตัวแปรสำคัญได้ 20 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ  60.151  แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ คุณค่า ความสัมพันธ์ และประสบการณ์ นำเสนอเป็นแนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 3 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ การส่งมอบคุณค่า, การสร้างความสัมพันธ์ และการสร้างประสบการณ์ลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2564). พาณิชย์เผย โควิดดันยอดซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น 0.45 เท่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, จาก https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/ file_admin_sum/news_survey-042564.pdf.

ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1). [อิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view /246187

ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิศาชล รัตนมณี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2019). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3). [อิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, จาก http://www.thonburi-u.ac.th/ journal /Document/13-3/Journal 13_3_16.pdf.

ลดาพร พิทักษ์, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และธนพล ก่อฐานะ. (2563). อิทธิพลของพฤติกรรมผ้บริโภค คุณค่าที่ส่งมอบ และการตลาดบนโลกดิจิทัล ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย: กรณีศึกษา ธุรกิจสมุนไพร. สยามวิชาการ, 21(37), 72-90.

Ms.นกยูง. (2021). เปิดทุกสถิติแบบม้วนเดียวจบ เช็คเทรนด์ Social – Live Commerce กับการชอป การซื้อของคนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, จาก https://www.marketing oops.com/news/biz-news/social-and-live-commerce-trend-by-shopline-thailand

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2021). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bhardwaj, S.N. (2020). Digital Marketing—Its Impact on Consumer Buying Behavior. Journal of Critical Reviews, 7(10). [Electronics]. Retrieved May 22, 2021, from https://www.bibliomed.org/mnsfulltext/197/197-1606268464.pdf ?1638590170.

Delanoy, N. (2020). Social Media and Customer Engagement: Customer Relations in a Digital Era. (Dissertation, Doctor of Philosophy in Management, Walden University) Retrieved May 22, 2021, from https://scholarworks.Waldenu .edu/cgi/viewcontent.cgi?article= 9651&context=dissertations.

Fetherstonhaugh B. (2018). THE 4PS ARE OUT, THE 4ES ARE IN. Retrieved May 22, 2021, from https://davidpaulcarter.com/wp-content/uploads/2018/08/four-es-of-marketing.pdf.

Kotler P., Kartajaya H., and Setiawan I. (2010). Marketing 3.0 From Products to Customers to the Human Spirit. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Phuchong N. (2019). The Influence of Digital Marketing on Consumer Buying Decision of Industrial Machinery. (Independent Study, Master of Business Administration, Siam University). Retrieved May 22, 2020 from https://e-research.siam.edu /wp-content/uploads/2019/06/IMBA-2018-IS-The-influence-of-digital-marketing -on-consumer-buying-decision-of-industrial-machinery-compressed.pdf

Poulou, P. (2018). FROM 4 P TO 4 E: RETHINKING THE MARKETING MIX. Retrieved May 22, 2020, from https://b October 22, 2020, aybridgedigital.com/from-4-ps-to-4-es-re thinking -the- marketing-mix/.

Saranrom, D., Ouparamai , W., and Saranrom, A. (2021). Business Management Strategies in the COVID-19 Situation. The Journal of MCU Peace Studies, 9(4). Retrieved November 2, 2021, from https://so03.tci-thaijo.org/index.php / journal-peace / article/view/248497.

Schwede, M. (2006). The structure of the e-marketing mix. Retrieved December 21, 2020, from http://familieschwede.files.wordpress.com/2006/12/e-marketing_mix_ schwede.pdf.

Sharma, U. and Thakurm, K.S. (2020). A Study on Digital Marketing and its Impact on Consumers Purchase. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(3). [Electronics]. Retrieved November 2, 2021, from http://sersc.org/journal s/index.php/ IJAST/article/view/30970.

Siddiqui, K. (2013). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate Statistical Techniques. World Applied Sciences Journal, 27(2). Retrieved May 21, 2021, from https:// www.idosi.org/wasj/wasj27(2)13/20.pdf.

We Are Social. (2021). Thailand Digital Stat 2021. Retrieved May 21, 2021, from https://datareportal. com/reports/ digital-2021-july-global-statshot.