การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 359 คน จากกลุ่มประชากรทั้งหมด เครื่องมือวิจัยคือแบบวัดความฉลาดทางสังคมมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์โดยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้าง และความเชื่อมั่น ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดความฉลาดทางสังคม จำนวน 30 ข้อ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 2.32 – 11.13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคำถามทุกข้อมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของข้อที่เหลือ (CITC) มีค่าระหว่าง 0.21 – 0.70 และเมื่อผู้วิจัยคัดเลือกข้อคำถามโดยพิจารณาข้อคำถามที่มีค่า CITC มากกว่า 0.40 และในแต่ละองค์ประกอบต้องมีจำนวนข้อคำถามตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไปซึ่งมี ความครอบคลุมนิยามปฏิบัติการในแต่ละองค์ประกอบตามที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้นมา จำนวน 24 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 6.50 – 13.53 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคำถามทุกข้อมีค่า CITC อยู่ระหว่าง 0.34 – 0.65 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X2= 1.21; df = 4; P = 0.88; GFI = 1.00; AGFI = 0.99; RMSEA = 0.02; RMR = 0.04) โดยในแต่ละด้านมีค่าความเชื่อมั่น ( ) ระหว่าง 0.85 – 0.86
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์. (2557). การศึกษาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
คณิตพันธุ์ ทองสืบสาย. (2552). การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ธัญญา ผลอนันต์ และ จุไรพร วิสุทธิกุลพาณิชย์. (2551). ใช้หัวก่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว.
พรสวรรค์ ชัยมีแรง. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 68-82.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พสุ เตชะรินทร์. (2549). ความฉลาดทางสังคม (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www. bangkokbiznews.com.
Albrecht,K. (2006). Social Intelligence: The New Science of Success. Journal of Applied. Management and Entrepreneurship, 11(3), 97–99.
Babu, M. (2007). Social Intelligence and Aggression among Senior Secondary School Students: A Comparative Sketch. Retrieved July 9, 2019, จาก http://files.eric.ed.gov/fulltext/ ED500484.pdf.
Goleman, D. (2006). Social Intelligence: The New Science of human relationships. New York: Bantam Books.
Hair, et al., (2010). Multivariate Data Analysis (7thed). New York: Pearson.
Khorzoghi, M.B., et al. (2014). Relationship between social intelligence with athletic identity among Wushu athletes. Scholars Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 2(3B), 428–433.
Kosmitzki, C., and John, O. P. (1993). The implicit use of explicit conceptions of social intelligence. Personality and Individual Differences. 15(1): 11–23.
Marlowe, H.A. (1986). social intelligence: Evidence for multidimensionality and construct independence. Journal of Education Psychology, 78(1), 52–58.
Shazia, H. (2013). Development and Validation of Social Intelligence Scale for University Students. Pakistan. Journal of Psychological Research, 28(1), 65–83.
Thorndike, E.L. (1920). Intelligence and its uses. Retrieved July 9, 2019, จาก https://www.unz. com/print/Harpers-1920jan-00227/.