ผลกระทบของกลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอทธิพลต่อ กลยุทธ์การตรวจสอบภายในในมิติด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาคสนาม ด้านการรายงานและการติดตามผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน จำนวน 227 ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ได้รับตอบกลับมาที่มีความสมบูรณ์ทั้งสิ้น 200 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.10 ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า (1) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการรายงานและการติดตามผลมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความถูกต้อง (2) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาคสนามมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความชัดเจน (3) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้าน การวางแผนการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาคสนาม ด้านการรายงานและการติดตามผลมีอิทธิพลต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความกระชับ (4) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาคสนาม ด้านการรายงานและการติดตามผลมีอิทธิพลต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความทันต่อเวลา (5) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้านการวางแผนการตรวจสอบมีอิทธิพลต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความสร้างสรรค์ (6) กลยุทธ์การตรวจสอบภายในด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาคสนาม ด้านการรายงานและการติดตามผลมีอิทธิพลต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในด้านความจูงใจ ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้มการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ มาตรฐานการตรวจสอบ อันจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการตรวจสอบภายในในอนาคตสืบต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญหทัย ใจเปี่ยม, ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย และ อาทิตย์ สุจเสน. (2564). ระบบการควบคุมภายในองค์กร ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1). 139–154.
จักรพงษ์ แผ่นทอง. (2562). การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564, จากเว็บไซต์ https://krujakkrapong.com.
จันทนา สาขากร, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2564. ข้อมูลรายบริษัทหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.set.or.th/set /commonslookup.do.
ประไพพรรณ โสภา, ขจิต ณ กาฬสินธุ์ และ อุระวี คำพิชิต. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ทางการตรวจสอบภายในกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 13(1). 65-84.
รณธรรม ขาวประทุม. (2552). ผลกระทบของคุณภาพการตรวจสอบภายในที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความเชื่อมั่นของลูกค้าของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย. (บัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
วันวิสาข์ เศรษฐมาน. (2560). ผลกระทบของกลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ตรวจสอบภายใน สังกัดกระทรวงยุติธรรม. (บัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
วาสนา โหงตา, วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล และ ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจสอบภายในแบบบูรณาการกับการบรรลุเป้าหมายองค์กรขของธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(4). 1-19.
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2554). มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ : สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.
เสาวณีย์ วิมุกตายน, จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2562). ผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายในที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 13(2).383 – 396.
Aaker, D. A., V. Kumar and G. S. Day. 2001. Marketing Research. 7th ed. New York : John Wiley & Sons
George, D., & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and reference. 11.0 update (4th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Horper and Row Publication