การจัดทำบัญชีด้วยแอปพลิเคชัน สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดทำบัญชีแบบเดิมกับการทำบัญชีแบบใช้แอปพลิเคชัน รายรับ-รายจ่าย ประเภทฟรีแวร์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร 4 แห่ง โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำวิสาหกิจชุมชนและสมาชิก ชุมชนละ 2 คน รวม 8 คน
ผลการวิจัย จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน จากผู้ที่สามารถให้ความเข้าใจในข้อมูลของการวิจัยวิสาหกิจชุมชน พบว่า สภาพวิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่มีสมาชิกในกลุ่ม 10-15 คน เป็นเพศหญิง มีรายได้หลักจากการทำการเกษตร รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร โดยการระดมเงินทุนจากสมาชิกในกลุ่ม และสมาชิกมีความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีด้านแอปพลิเคชัน เช่น LINE Facebook เป็นต้น และวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหาร มีการจดบันทึกบัญชีรายรับ–รายจ่าย ไม่มีแบบฟอร์ม ไม่มีการควบคุมปริมาณสินค้า ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบันทึกบัญชีไม่มีความรู้ ขาดทักษะด้านบัญชี ส่วนใหญ่เป็นการจดบันทึกตามความเข้าใจ ไม่มีการนำตัวเลขมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอื่น ๆ นอกจากนั้น ไม่ต้องการระบบบัญชีที่มี ความซับซ้อน และไม่เห็นความสำคัญของการนำข้อมูลทางบัญชีมาประกอบการตัดสินใจ แต่เมื่อนำ แอปพลิเคชัน รายรับ-รายจ่าย ประเภทฟรีแวร์มาให้ทดลองใช้ พบว่า ด้านแบบฟอร์ม ด้านเนื้อหามีความเข้าใจง่าย โดยแอปพลิเคชัน รายรับ-รายจ่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการให้กับวิสาหกิจชุมชนได้ โดยผู้วิจัยมีระบบการติดตามให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ระบบการติดตามจะเป็นไปตามบริบทของแต่ละวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนางานด้านบัญชีให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น โดยประเมินจากการลดภาระงานด้านการบันทึกตัวเลขทางการเงินของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). รายงานการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก http://smce.doae.go.th/ProductCategory/
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ
กุสุมา ดำพิทักษ์ และธัญการนต์ คชฤทธิ์. (2563). การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศการบัญชีภาคธุรกิจสำหรับผู้ทำบัญชี. วารสารศิลปะการจัดการ. 4(1), 13-22.
ชลลดา เหมะธุลิน, นฤมล ชินวงศ์ และยุทธนา จันทร์ปิตุ. (2561). ปัญหาในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประเภทจักสาน ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 51-57.
ทิบดี ทัฬหกรณ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุคไทย แลนด์ 4.0. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 12(2), 107-122.
ธิดา เณรยอด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งกับสำนักงานบัญชีคุณภาพ. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์. (2563). ปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีย์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 5(2), 48-60.
บันเฉย ศรีแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ : กรณีศึกษากลุ่มบ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 22(2), 121-130.
ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วริยา ปานปรุง, ทิวัฒน์ มณีโชติ, ชัชสรัญ รอดยิ้ม และนัฐพงศ์ ส่งเนียม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. กรุงเทพฯ : มหวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 694-703.
วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ. (2564). ปัญหาการจัดทำบัญชีและการควบคุมภายในของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 72-86.
วิริยา จงรักษ์สัตย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 34(3), 440-455.
ศิริรัฐ โชติเวชการ. (2560). Cloud based accounting software. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มิถุนายน ฉบับที่ 66.17.
ศิริประภา ศรีวิโรจน์ และกนกวรรณ เอี่ยมชื่อ. (2562). นักบัญชี ในยุค 4.0 .วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทริ์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 11(1), 19-28.
สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(13), 26-35.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมขนจากภาครัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562, จ า ก https://www.parliament.go.th/library
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). วิสาหกิจเพื่อสังคม: การต่อยอดวิสาหกิจชุมชุนและสวัสดิการชุมชน เพื่อการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(2), 353-381.
อุทุมพร ศรีโยม และพรศิลป์ บัวงาม. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับบัญชีครัวเรือน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(2), 57-69.
Laonamtha, U. , Laohamethanee, W. & Paikhamnam, A. (2014). Strategic Enterprise Resource Planning Management & Firm Success of Food Businesses in Thailand: An Empirical Investigation of the Antecedents & Consequences. Review of Business Research, 14(2), 89-102.
Sangsawang, P. & Jaensirisak, S. (2015). The achievement of academic service and quality of life: A case of the household accountings at Ban Nareangnoi, Tambon Nareang, Amphoe Nayia, Ubon Ratchathani Province. The 6th Hatyai National and International Conference. (pp. 489-502). Hatyai : Hatyai University. [in Thai]