ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประจำปีการศึกษา 2563 กลุ่มประชากรจำนวน 1,808 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) สถิติเชฟเฟ่(Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.48, S.D. = 0.611) และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ปัจจัยด้านอายุมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ปัจจัยด้านสถานภาพมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีและด้านเก่ง ปัจจัยด้านศาสนามีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูเฉพาะด้านดี ปัจจัยด้านวิทยฐานะมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ปัจจัยด้านอายุงานมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ปัจจัยด้านสังกัดกลุ่มสาระมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข และปัจจัยด้านสังกัดกลุ่มงานมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณัฐพล วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 78-91.
ปกรณ์ รันตทรัพย์ศิริ. (2564). ความมั่นคงทางอารมณ์ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การเสริมสร้างพลังอำนาจและความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญใน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 155-173.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30(2), 186-201.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ม.ป.พ.
อรวรา ทิพย์กำพร, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร และ ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสุขศึกษา, 43 (1) มกราคม – มิถุนายน 2563, 61-73.
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.
Juan, F. R. (2016). Student Perceptions of the Role of Emotional Intelligence in College Success: A Phenomenological Study. International Journal of Business Marketing and Management (IJBMM), 1(3), 58-78.
Kant, R. (2019). Emotional intelligence: A study on university students. Journal of Education and Learning (EduLearn), 13(4), 441-446.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 55.