การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำนาของเกษตรกรบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ บทความวิจัย

Main Article Content

ทิพย์สุดา ทาสีดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำนาของเกษตรกรบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกเกษตรกรบ้านยาง จำนวน 57 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนจากการทำนาของเกษตรกรบ้านยาง พบว่ามีต้นทุนเฉลี่ย/ไร่ จำนวน 3,592 บาท โดยแยกเป็นวัตถุดิบ เฉลี่ย/ไร่ จำนวน 1,013 บาท ค่าแรงงาน เฉลี่ย/ไร่ จำนวน 1,022 บาท ค่าใช้จ่ายในการผลิต เฉลี่ย/ไร่ จำนวน 1,482 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เฉลี่ย/ไร่ จำนวน 75 บาท  2) ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนของเกษตรกรบ้านยาง พบว่า มีรายได้เฉลี่ย/ไร่ จำนวน 6,283 บาท โดยแยกเป็นรายได้จากการจำหน่าย จำนวน 5,299 บาท และรายได้จากการบริโภค จำนวน 984 บาท และ วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า เกษตรกรบ้านยาง มีรายได้โดยภาพรวม จำนวน 5,962,507 บาท
มีต้นทุนจากการผลิต จำนวน 3,337,269 อัตรากำไรขั้นต้น 44.03 % และอัตรากำไรสุทธิ 42.84 %

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร เฉลิมกาญจนา. (2549). การบัญชีบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์. (2560) ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวนาปรัง กรณีศึกษา บ้านฮี หมู่ 3 ตำบลคำเจริญ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วิจัย. บัญชีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชธานี.

กำพล สมพงศ์. (2555). ผลตอบแทนและความเสี่ยง กรณีศึกษาหลักทรัพย์ในกลุ่มบริษัทเงินทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานการวิจัย คณะพัฒนาเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทวีศักดิ์ บุญกุมล. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนปลูกข้าวพันธุ์ กข 31 ของเกษตรกรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง อำเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2550). แนวคิดและทฤษฎีผลตอบแทน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2554). การวิเคราะห์ผลตอบแทน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์แสงดาว : กรุงเทพมหานคร.

มนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2556). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

เมธี เจริญสุข และอนุพล อุ่นเอ้ย. (2562). การลดต้นทุนกระบวนการปลูกข้าวนาปรัง กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง จังหวัดราชบุรี. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วาทินี จันทร์ช่วงโชติ. (2557). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 หว่าน กับแบบหว่านและปักดำของเกษตร อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. บัญชีมหาบัณฑิต. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วันทนา บ่อไทย. (2564). กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านยาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564, จาก http://sites.google.com/site/klummaebankestrkrbanyang/home/bribth-hmuban.

วรณี จิเจริญ. (2550). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2556). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร โสมคาภา, กาญจนา วงค์หมื่น, เกวลี พันธุ์บัว, สิริกุล จันทิมา, และเกศสุดา แก่นจันทร์. (2562). ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ กข 29 (ชัยนาท 80) ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านไร่สุขุม ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกาแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร. 20 ธันวาคม 2562.

สุฑามาศ ไชยคำ, ภัทรจาริน ศรียงค์, รัตติญา บุญเลิศ, สุภาดา บริบูรณ์มังสา และชุติกาญจน์ เกษลา. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวเม่า : กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในเขตบ้านกลางใหญ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วิจัย. บัญชีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุพรรษา ไวอติวัฒน์. (2560). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร : กรุงเทพมหานคร.