ผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มธุรกิจชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของธุรกิจชุมชนที่มีต่อภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มธุรกิจชุมชน โดยใช้แบบสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายที่ได้รับเกณฑ์การประเมินในระดับ 5 ดาว จำนวน 352 ราย ซึ่งขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ Yamane (1973) ในกรณีที่ทราบขนาดของประชากร โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้เท่ากับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้นำวิสาหกิจชุมขน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้นำธุรกิจชุมชน ด้านการสร้างหลักประกัน ในระดับมากที่สุด ( =4.56) รองลงมา คือ ด้านการกำหนดความเสี่ยง ( =4.48) และด้านการปรับตัวเพื่อ การเรียนรู้ ( =4.45) อยู่ในระดับมากตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ด้านการปรับตัวเพื่อการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างสร้างสรรค์ ด้านการหาประโยชน์จากโอกาส และด้านการจัดการความเสี่ยง มีผลกระทบเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มธุรกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจชุมชน จากการเลือกผู้นําที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในชุมชน รวมถึงเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการนําไปพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถของตนเอง เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
แพรลฎา พจนารถ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อความ ได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 241-257.
สมเกียรติ สุทธินรากร, ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2563). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 270-283.
สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2562). คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2562. สืบค้นจาก https://cep.cdd.go.th/otop-data/ผลิตภัณฑ์-otop
อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ทุนมนุษย์เชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน. E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1572-1579.
อาทิตยานันท์ ยุระยาตร์ และ อุษณา แจ้งคล้อย. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความ พึงพอใจ และประสิทธิผลการทำงานในสำนักงานบัญชีของผู้ทำบัญชี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 244-257.
Bagheri, A. and Harrison, C. (2020). Entrepreneurial leadership measurement: a multi-dimensional construct. Journal of Small Business and Enterprise Development, ahead-of-print(ahead-of-print).
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. USA: John Wiley and Son.
De Jong, J. and den Hartog, D. (2010). Measuring Innovative Work Behaviour. Creativity and Innovation management, 19(1), 23–36.
Edison, H., Edison, H., bin Ali, N., and Torkar, R. (2013). Towards innovation measurement in the software industry. Journal of Systems and Software, 86(5), 1390–1407.
Tidd, J. (2001). Innovation management in context: Environment, organization and performance. International Journal of Management Reviews,3,(3) (September), 169-183.