ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

Main Article Content

นวภา วงษ์อินตา
สมหวัง นิลพันธ์
พรพิมล ชูสอน
พูลผล ชาญวิรัตน์
อารีย์ พาวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะตามศตวรรษที่21 ที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสร้าง ความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) แบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ 5) แบบประเมินคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะของผู้เรียนตามศตวรรษที่ 21 และ 6) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์   ร้อยละ 92.59 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 2) ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียนด้วยชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับดี 3) ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะตามศตวรรษที่ 21 ที่เรียนด้วยชุดสร้างความรู้ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับดี 4) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ หาญพิทักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์ และความสาารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง รูปสามเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ . (2560) .ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กันตภณ พริ้วไธสง. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรม เมคคาทรอนิกส์ ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ในรายวิชาฟัซซีลอจิก.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(22) เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559, 21-27.

จารุณี ชามาตย์. (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จารุวรรณ ศรีสวัสดิ์ และสถาพร ขันโต (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1) มกราคม – มีนาคม. 2555, 7-17.

เจริญขวัญ โรจนพงศ์สถาพร. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ แบบเคลื่อนที่ (Mobile Learning) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธนบุรี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิฎิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ).

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประนอม เมตตาวาสี. (2551). การใช้ชุดการสร้างความรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 . หนองบัวลำภู: โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.

ปิยะพร นิตยารส. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องอสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(2) กรกฎาคม - ธันวาคม 2562, 164-178.

พานทอง มูลบัวภา (2561). การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4) ตุลาคม – ธันวาคม 2560, 172-178.

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ (มคอ.2). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

รัชนีกร ดอกพอง. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคคิวิสต์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหินตั้ง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(3) กรกฎาคม – กันยายน, 49-55.

วราภรณ์ เขตโสภา. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เน้นกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 ที่มีต่อ เจตคติต่อการเรียน ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ศิริลักษณ์ อินสุวรรณ อุไรวรรณ ปานทโชติ และ โสภา จิตตวิไลย. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี Constructivism สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

ศิริลักษณ์ อินสุวรรณ อุไรวรรณ ปานทโชติ และ โสภา จิตตวิไลย...(2564). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา ครั้งที่ 1 .วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 .กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,สถาบัน. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1) มกราคม – มิถุนายน 2556, 1-7.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา:หลักการทฤษฎี สู่ปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุรางค์ทิพย์ นครไพร. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เศษส่วนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อิศรา ก้านจักร. (2547). ผลการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนว CONSTUCTIVISM : Open learning environments (OLES) สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Lord, T.R. (1999). A comparison between traditional and constructivist teaching in environmental science. Journal of Environmental Education, 3( 30 ), 22 –27.