การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกยาสูบ ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยาสูบ บ้านสวนจิก หมู่ที่ 1 อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

นฤมล อริยพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลและสภาพทั่วไป ต้นทุนและผลตอบแทน และวิเคราะห์จุดคุ้มทุนราคาขายต่อกิโลกรัม ของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านสวนจิก หมู่ที่ 1 อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้ขึ้นทะเบียนการปลูกยาสูบกับโรงงานยาสูบ   กรมสรรพสามิต ในฤดูกาลเพาะปลูก 2564/2565 จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล และใช้สูตรทางบัญชีในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า มีต้นทุนการปลูกยาสูบทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 11,352.89 บาท จำแนกเป็น ต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 4,674.67 บาท และต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 6,678.22 บาท ผลผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 190.63 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 59.55 บาทต่อกิโลกรัม จำแนกเป็นต้นทุนคงที่ เท่ากับ 24.52 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนผันแปร เท่ากับ 35.03 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ย เท่ากับ 88.52 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนกำไรสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 5,522.11 บาท ผลตอบแทนกำไรสุทธิต่อกิโลกรัม เท่ากับ 28.97 บาท ปริมาณการผลิตเฉลี่ยคุ้มทุน เท่ากับ 87.39 กิโลกรัมต่อไร่ ระดับราคาขายคุ้มทุน เท่ากับ 59.55 บาทต่อกิโลกรัม อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการปลูกเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ ร้อยละ 48.64 และอัตราผลตอบแทนต่อยอดขายเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ ร้อยละ 32.72 ซึ่งจะเห็นได้ว่า การปลูกยาสูบสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2561). เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ เอกสารวิชาการกลุ่มวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน 11. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน. (2561). ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

การยาสูบแห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลใบยาเตอร์กิซ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://www.thaitobacco.or.th/th.

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. (2553). ผลตอบแทนและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์การปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ ในตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 37-49.

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. (2563). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของภาษีสรรพสามิตต่อการปลูกยาสูบ: มุมมองทางมหภาคและจุลภาค. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

เจนณรงค์ ละอองศรี และ เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2561). การวิเคราะห์กลวิธีพัฒนาศักยภาพเกษตรกรปลูกยาสูบ ในการป้องกันพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(2), 87-95.

ณัชนันทน์ อัครเดชาพณิช และ ทตมัล แสงสว่าง. (2564). การวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อย ในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปีการเพาะปลูก 2562/2563. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 1-14.

นุชสรีย์ ทองใส. (2559). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตยาสูบในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ลลิตา ป่าลั่นทม. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(5), 71-80.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). วิธีวิทยาการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงสำรวจและ เชิงทดลอง. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบลูพริ้นต์.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (2565). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.saranukromthai.or.th.

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2564). ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง แก่เกษตรกรไร่ยาสูบ – เกษตรทั่วไทย.สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://d.dailynews.co.th.