การพัฒนาโปรแกรมเสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม

Main Article Content

วรางคณา เหนือคูเมือง
สุรกานต์ จังหาร
สมาน เอกพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสมรรถนะวิชาชีพของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรม 4) ติดตามผลในการนำความรู้และทักษะปฏิบัติที่ได้ไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน โปรแกรมเสริมสมรรถนะวิชาชีพ แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้ที่เรียนสาขาเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จำนวน 222  คน พบว่ามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านงานซ่อมคอมพิวเตอร์ มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 2) โปรแกรมเสริมสมรรถนะวิชาชีพช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหาแบ่งเป็น 6 หน่วยสมรรถนะ สื่อวิดีโอ ใบเนื้อหา และแบบทดสอบ ใบงาน ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าโปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 3) ผลการใช้โปรแกรม พบว่า มีผลสัมฤทธิ์หลังการการใช้โปรแกรมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสิทธิภาพเท่ากับ 81.41/90 และด้านทักษะปฏิบัติผ่านเกณฑ์ร้อยละ 95.38 ความเหมาะสมของโปรแกรมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 4) ผลของการนำความรู้และสมรรถนะที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนและพัฒนาผู้เรียน พบว่า สามารถนำความรู้และสมรรถนะที่ได้ไปใช้อยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาที่มีคะแนนสอบสูงสุดและต่ำสุด พบว่าสามารถนำความรู้และสมรรถนะที่ได้ไปใช้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 และอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.7

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก วรหาญ นิรุต ถึงนาค และชมพูนุช เมฆเมืองทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาชีพช่างเชื่อมสำหรับนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(1), 155-173.

กฤช สินธนะกุล ไพโรจน์ สถิรยากร จรัญ แสนราช และพิสิฐ เมธาภัทร (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูคอมพิวเตอร์เพื่อวางแผนการสอนแบบผสมผสาน. วารสารวิชาการครุศาสตร์ อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 4(1), 28-35.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). สมรรถนะวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตําราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จะเด็ด เปาโสภา. (2547). การเขียนมาตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานครู: ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษากรมอาชีวศึกษา.

จะเด็ด เปาโสภา และ มนตรี พรหมเพ็ชร. (2548). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ เล่ม 2 การพัฒนาโมดูลแบบฐานสมรรถนะ (Developing of Competency-based Modules). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เฉลิมพล บุญทศ และกฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2564). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างจิ๊กฟิกซ์เจอร์ (Jig & Fixture). วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 184-196.

ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้ M-training และการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า เรื่องการใช้กระดานอัจฉริยะ สำหรับครูสังกัดโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการฝึกอบรมคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ธนานันต์ ดียิ่ง และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2558). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 204-216.

บุษกร เขจรภักดิ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ปรัชญนันท์ นิลสุข และปนิตา วรรณพิรุณ (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน : สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(85), 31-36.

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 67-79.

วิรัช ชินพลอย นิรุต ถึงนาค และชมพูนุช เมฆเมืองทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมในการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนมโนทัศน์ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 42-50.

สนุ่น มีเพชร. (2562). สมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1), 52-60.

สมใจ จันทร์เต็ม. (2553). Hybrid Learning กับนวัตกรรมการเรียน การสอนวิชาบัญชีในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 134-150.

Bar, M.J.& Keating,L.A. (1990). Introduction: Elements of program development, in M.J.Barr, L.A.Keating and Associates. Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. [Online]. Retrieved 16 December 2022 from: https://www.testden.com/partner/blended%20learning%20for%20independent%20schools.PDF.

Graham, C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. [Online]. ]. Retrieved 16 December 2022 from: http://www.media.wiley.com/product data/except/86/C.pdf.

Thorne, K. (2003). Blended learning: How to integrate online and traditional learning. London: Kogan.