ผลการใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

สุระสิทธิ์ เขียวเชย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนสอนการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ จำนวน 4 แผนๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ เป็นแบบมาตราส่วน-  ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา GE301 การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หลังเรียนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา ชอบเอียด. (2558). ผลการสรุปบทเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 2(1), 46-51.

ธัญญาลักษณ์ สังข์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีด้วย ACDEA เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูภาษาไทย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 22(2), 62-74.

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารครุศาสตร์สาร, 11(2), 37-44.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร:ศูนย์นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วุฒิพงษ์ คำเนตร. (2558). วิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ 21 (Five Steps for Student Development). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565, จาก https://wutthiphongkhamnet.blogspot.com/2015/06/five-steps-for-student-development.html

ศรเนตร อารีโสภณพิเชษฐ. (2557). กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 194-211.

สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2561). การสอนภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามคุณลักษณะอันที่ประสงค์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 117-122.

สุวิมล นิ่มดวง. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

อาภา วรรณฉวี. (2565). การคิดวิเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://bsru.net/การคิดวิเคราะห์.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational Goals-Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Ignite Thailand. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.ignitethailand.org/content/4754/ignite.

Sitthipon ART-IN. (2017). Development of Analytical Thinking Skills Among Thai University Students. TOJET: The Turkish Online Journal of Educational Technology, October 2017, Special Issue for INTE 2017, 862-869.