SEAT Project and STEM Education: กิจกรรมเชิงรุกสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้เป็นการเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่บุคคลที่มีความเป็นอัจฉริยะ บุคคลที่มีความบกพร่องหรือพิการและบุคคลที่มีปัญหาหรือประสบความล้มเหลว ในการเรียนรู้ เน้นการจัดการศึกษาพิเศษแบบเฉพาะเจาะจง สมเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้ง 4 ฉบับ ที่แสดงความห่วงใยในประเด็นหลักที่ว่า “คนไทยทุกคนต้องได้เรียน” ให้ได้พัฒนาศักยภาพรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคมตลอดจนพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันร่วมกับเด็กปกติทั่วไปได้ ผู้เขียนกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อเสนอกิจกรรมในโครงการพิเศษที่เคยจัดแล้วบรรลุผล นั่นคือ SEAT Project และ STEM Education และ 2) เพื่อเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ในความร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครอง
รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษปัจจุบัน ในประเทศไทยนั้น มีรูปแบบการจัดการศึกษา ดังนี้ 1) SEAT Project เป็นโครงการพิเศษที่สนองความต้องการของเด็กพิเศษ โรงเรียน ครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย ผู้เรียน (Students) สิ่งแวดล้อม (Environment) กิจกรรม (Activities) และเครื่องมือในการเรียนรู้ (Tools) ส่วน STEM Education เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการ 4 รายวิชาคือวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) 2) การเรียนรวม (Inclusive Education) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 3) การเรียนร่วม (Mainstreaming Education) เป็นการจัดให้เด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับเด็กทั่วไป โดยมีครูในชั้นเรียนปกติและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552) .ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ความพิการ 9 ประเภท. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://law.m-society.go.th/law2016/uploads/lawfile /20100210_15_14_27_7714.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.kroobannok.com/86627https://www.moe.go.th/%E0%
ขนบพร แสงวณิช และโชติกา ภาษีผล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น. Journal of Education Naresuan University, 20(4), 45-57.
จักรกฤษณ์ ผู้พงษ์พัฒน์. (2564). กลยุทธ์การบริหารวิชาการ โรงเรียนขนาดเล็ก แนวคิดใหม่ของการจัดการศึกษา แบบเรียนรวม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 19(2) 2564.
เบญจา ชลธาร์นนท์. (2545). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาการฝึกครู สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏกระทรวงศึกษาธิการ.
ผดุง อารยะวิญญู. (2553). โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวรูปแบบการจัดการเรียนรวม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มศว. ฉบับที่ 2 ISSN (Print) : 0857-5290.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา (STEM Education) (Power Point). ประกอบการอบรมครูวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก http://stemreg.ipst.ac.th/?_event=smt63middleschool
สมพร หวานเสร็จ. (2561). การส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโดยใช้ SEAT Project. วารสาร Sillhana, 6(7), 151-162.
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุค การศึกษา 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย และ รัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้เชิงรุกผ่านกระบวนการวิจัยแบบโครงงาน สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 464-482.
เสริมทรัพย์ วรปัญญา และ อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2565). การพัฒนารูปแบบ การศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนประถมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2023-2036.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ พุทธศักราช 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก http://special.obec.go.th/HV3/ doc2561/group2/.
อรธิดา ประสาร. (2552). ศตวรรษใหม่แห่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม. วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(1), 56-61.
อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).
Phukabkhao, P. (2010). The Proposed Policy for the Effectiveness of Inclusive Schools in Khon Kaen Province. (Doctoral Dissertation). Khon Kaen. Khon Kaen University.
Sangsuree Duangkamnoi and Tasanaphorn Sangsriruang. (2022). Developing the Creative Cane Designing STEM Education Unit for Grade 6 Thai Students. Asia Research Network Journal of Education, 2(1), 17-26.
Sriphong, S. (2018). Inclusive Education Model Of Students With Learning Defects In Schools Under The Office Of The Basic Education Commission. Mahachula Academic Journal, 5(2) ,198-215.