คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ณฐดล สังฆมณี
ฐิตารีย์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้มารับบริการงานจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis -MRA)


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-27 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรับรู้ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคลจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.59  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.78 รองลงมา คือ ด้านการให้ความมั่นใจ (Assurance) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ด้านการดูแลเอาใจใส่ (Empathy) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ด้านการตอบสนอง (Responsive)  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความเป็นรูปธรรม (Tangibles) โดยมีค่าเฉลี่ยที่เท่ากับ 4.32 ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.68  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.72 รองลงมา คือ ด้านผลการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านลักษณะการให้บริการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 คุณภาพการให้บริการ ด้านการดูแลเอาใจใส่ ด้านการให้ความมั่นใจ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเป็นรูปธรรม และด้านการตอบสนอง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรคุณภาพการให้บริการทั้ง 5 ตัว สามารถร่วมกันส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 73.40

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). รายงานสรุปปริมาณคำขอ. สืบค้นจาก http://eregisintra4.dbd.go.th/rg-report-web/rgr140221.xhtml

กองบริหารการพาณิชย์ภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2565). สรุปผลความพึงพอใจต่องานบริการของศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก http://mocsurvey.moc.go.th/kbpsurvey/u/report1.php

คณะกรรมการอํานวยการศูนย์ราชการสะดวก สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). คู่มือการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก. สืบค้นจากhttps://www.opm.go.th/opmportal/multimedia/phoobeas/FilePDF/GECC65/manualGECC.pdf

คมดาว รงค์ชนะ และ ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2559). ปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

นพเกล้า สะหะอาภรรณ์. (2558). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พรวิสา เครือเทพ. (2557). อิทธิพลการรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).

พิมพ์ปภัทร์ สุดประเสริฐ. (2562). คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, น.308-316. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วรรธนะ เสถียร. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

วิรัตน์ ชนะสิมมา (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชน ที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาล ตำบล หนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

โสรยา สุภาผล, ลัดดาวัลย์ สำราญ และวัชรีวัลย์ ทองสมบัติ. (2565). ปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคมและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 18(4) เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2565, 129-139.

Kevin Lane Keller. Branding Perspectives on Social Marketing. In Advances in Consumer Research, 25 (2008): 299-302.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management (10th edition). New Jersey : Prentice-Hall Inc.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of marketing, 64(Spring), 12-40.

Siddiqui,K. (2013). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate Statistical Techniques. World Applied Sciences Journal, 27(2), 285-287. Retrieved from https://doi.org/10.5829/idosi.wasj.2013.27.02.889