ปัจจัยที่ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าในเขตจังหวัดอุดรธานี ช่วงสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

พิไลพร ลอยสงวน
วนิชย์ ไชยแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุดรธานี ช่วงสถานการณ์โควิด-19 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุดรธานี ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 390 ตัวอย่าง และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Sample t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าแตกต่างกันในช่วงสถานการณ์โควิด-19  2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมมีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคลากร กระบวนการให้บริการ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการทุกด้านมีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านราคา รองลงมาคือ ด้านกระบวนการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคลากร สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมท่าอากาศยาน. (2565). ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศของท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน 2022. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.airports.go.th/th/content/349/4360.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2563). แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf.

กัญญาณัฐ อาวรณ์, ปารณีย์ แก้วนาคแนว, พิศาล เจริญสุข, วิชญาดา ฉายอริยกุล, สุธาสินี แก่นจันทร์ และ นริศรา ภาควิธี. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สายการบินไทยต้นทุนต่ำในสถานการณ์โควิด-19. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 15(2), 73-96.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูพงษ์ พันธุ์แดง และ ธีนิดา บัณฑรวรรณ. (2565). รูปแบบการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 127-145.

เฌอศานต์ ศรีสัจจัง. (2563). ทางเลือก-ทางรอดสายการบินยุค COVID 19. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://news.thaipbs.or.th/content/295197.

ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2565). สนามบินอุดรฯแชมป์ผู้โดยสารปีใหม่ เตรียมรับเหือดยาวหลังตรุษจีน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.thansettakij.com/economy/510518.

ณรงค์พร จรรโลงบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบิน การบินไทยสำหรับการให้บริการภายในประเทศ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 8(1), 174-186.

ณภัคอร ปุณยภาภัสสร. (2551). AIDA Model อ้างอิงในปีค.ศ.1898 โดย St. Elmo Lewis. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://punyapapassorn.blogspot.com/2010/08/aidamodel.html/.

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี. (2563). ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก และสิริมา บูรณ์กุศล. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในจังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 08-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคการบรรยาย, 442-447.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่, 15) นนทบุรี: อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3d ed). New York: John Wiley and Sons Inc.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principle of marketing (15th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2,49-60.

Susanto, A., Lapian, J. and Tumbuan, A. (2016). The Influence of cultural, social, personal and psychological on consumer purchase decision study on tonasa cement product in Manado city. Journal Berkala Ilmiah Efisiensi, 16(1), 198-206.

Zikmund, W. G. et al. (2010). Business research methods (8th ed.). Australia: South Western Cangage Learning.