การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาอำเภอเกษตรสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลและระดับประสิทธิผลของโรงเรียน ฯ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของโรงเรียน ฯ 3) ศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู ศูนย์เครือข่ายการศึกษาอำเภอเกษตรสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ฯ โดยภาพรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนฯ ได้แก่ ด้านคุณธรรม (X6) ด้านความพร้อมรับผิด (X1) และด้านความเสมอภาค (X5) และได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ร้อยละ 85.00 (R = .850) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.30 (R2 = 0.723) โดยเขียนเป็นสมการ ได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ(B) Y' = 0.970+ 0.364** (X6) + 0.181**(X1) 0.230**(X5)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน(β) Z = 0.477 Z6 + 0.289 Z1 + 0.285 Z5
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ณธกร ภาโนมัย และ เพียงแข ภูผายาง. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุญสืบ โพธิ์ศรี. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนอาชีวศึกษาเพื่อมุ่งเน้นการผลิตแรงงานมืออาชีพ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 216 – 229.
ปวีณา พุ่มพวง.(2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
มุตตา คงคืน. (2551). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อํานวยการโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ราเชนฐ์ สิขิวัฒน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วัชเรศ วงษ์เฉลีย. (2564). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วิไลพร จันเสงี่ยม. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
สมชาย น้อยฉ่ำ และคณะ. (2559). ธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักการประเมินแห่งดุลยภาพของเทศบาลนคร เจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. Kasem Bundit Journal, 17(2), 38 – 48.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สุวารินทร์ โรจน์ขจรนภาลัย. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบด้านการเรียนของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์พิทยา กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2563). รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.(2564). รายงานผลดำเนินการ ประจำปี พ.ศ.2564.ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
อาคม อึ่งพวง. (2551). ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตถาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
อาทิตยา สุขศรี.(2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (1991). Education Administration: Theory. Research and Practice. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Sammons, p., Hillman, J. and Mortimore, P. (1995). Key Characteristics of Effective Schools. a Review of School Effectiveness Research. London: OFSTED.