แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

สันติ พิณรัตน์
กุหลาบ ปุริสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 226 คน ได้มาโดยวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบการตอบสนองแบบรายคู่ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ดัชนีความต้องการจำเป็น  ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล  ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือด้านความรู้ดิจิทัล 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีทั้งหมด 4 ด้าน 11 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิตณะเชนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตการศึกษา, วิทยาลัยครูสุริยเทพ).

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

ทินกร บัวชู. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13 (2), 285-294.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นําเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นําใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐนันท์ รถทอง และ มรักษ์ เลิศวิสัย. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. Joumal of Roi Kaencam Academi, 6(11), 223-234.

รุ่งฤดี ศิริ,ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และ วัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต1. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 1-16.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

วันชัย สุขตาม, จิรายุ ทรัพย์สิน และ สุรศักดิ์ ชะมา. (2562). การเสริมสร้างความสามารถภาวะผู้นำดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารท้องถิ่นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏทิบูลสงคราม, 1(2), 63-75.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2564). รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ชัยภูมิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566. จาก https://www.cpn1.go.th/2021/?p=15129

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). สำนักงาน ก.พ.ร. เผยแพร่ผลการพัฒนาแนวทางการให้บริการของภาครัฐ และทิศทางการพัฒนาการให้บริการแบบดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก http://www.opdc.go.th/content/NTcww.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie,R.V.& Morgan.D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30(1) :607-610.

Polly, D. (2010). Preparing teachers to integrate technology effectively: The case of higherorder thinking skills (HOTS). Chapter to appear in S. D’Augustono (Ed.).

Sullivan, L. (2017). O ckillc every dinital leader need. Available form : https://www.cmswire.com/dicital-workplace/8-skills-everydicital-leaderneeds.