แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

ปณิดา สุภารมย์
กุหลาบ ปุริสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานบุคคลโรงเรียน จำนวน 308 คน มาจากสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือเป็นแบบเลือกถามรูปแบบการตอบสนองแบบรายคู่ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความสำคัญ 3 ลำดับ คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล รองลงมา ด้านความรู้ดิจิทัล และด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา  มีทั้งหมด 6 แนวทางหลัก ประกอบด้วย 26 แนวทางย่อยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561). ภาวะผู้นำตัวใหม่: ภาวะผู้นำ ICT. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก http://web.facebook.com/EadlnnoNews/post/1642173849204/_rdc=1&_rdr.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 9(1), 286-294.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in digital ear : ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จาก https://today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+digital+Ear:

พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ภานุมาศ จันทร์ศรี . (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา: การวิจัยผสมผสานวิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

รัฐนันท์ รถทอง. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต. วารสารรอยแก่นสาน, 6(11), 76-87.

รุ่งฤดี ศิริ, ชาญวิทย์ หาญรินทร์และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนา ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12 (3), 1-16.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

วันชัย สุขตาม. (2562). การเสริมสร้างความสามารถภาวะผู้นำดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารท้องถิ่นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 63-75.

วาลิกา รักยินดี และพิชญาภา ยืนยาว. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่สถานศึกษาแห่งนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 11 (11-12 กรกฎาคม 2562 หน้า 1661-1670). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมศักดิ์ จีวัฒนา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน Constructing ICT leadership indicators for personnel in basic education institutions. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/artiw/50751/42000.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.2561-2565. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565, จาก https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/depa-Promotion-Plan- Book61-65. pdf.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

American Institute for Research. (2009). Evaluation of the school technology leadership initiative: external evaluation report. Washington DC: American Institutes of Research.

Bawden, D. (2001). Information and digital literacies: a review of concepts. Journal of Documentation, 57(2), 218-259.

Cronbach. Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd.ed). New York: Harper & Row.

Gkuster, P. (1997). Digital literacy. New York: John Wiley.

Hague, C. & Payton, S. (2010). Digital literacy across the curriculum. Bristol: Future lab.

International Society for Technology in Edition (ISTE) (2007): Advancing Digital Age Learning. Iste.org.

Joint Information Systems Committee. (2014). Developing digital literacies. Retrieved July 10, 2022, from https://www.jisc.ac.uk/guides/developubgdigital-literacies.

Krejcie,R.V.& Morgan.D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.

McLeod, S.A. (2007). Maslow's hierarchy of needs. Retrieved December 2, 2022, from www.simplypsychology.org/maslow.html.

Sheninger, E. (2019). Pillars of digital Leadership. Retrieved July 10, 2022, from https://Leadered.com/pillars-of-digital-leadership/.

Sullivan, L. (2018). 8 skills every digital leader need. Retrieved July 15, 2022, from https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every digital-leader-need.

Zhu, P. (2014). Five key elements in digital leadership. Retrieved July 3, 2022, from https://futureofcio.blogstot.com/2014/10/digital-leadershipeffectiveness.html.