ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล (D.DOPA Digital ID) ผ่านสมาร์ทโฟน ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (D.DOPA Digital ID) ผ่านสมาร์ทโฟน ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลวิจัยพบว่าปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ในภาพรวมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟน (β = .905) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเมื่อทำการทดสอบความมีอิทธิพลของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (D.DOPA Digital ID) เป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของระบบมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (D.DOPA Digital ID) มากที่สุด (β = .887) รองลงมาคือ ด้านการรับรู้คุณค่าที่ได้จากบริการ (β = .868) ด้านการอำนวยความสะดวกในระบบ (β = .860) ด้านอิทธิพลทางสังคม (β = .857) ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ (β = .824) ด้านมูลค่าราคา (β = .812) และด้านที่มีอิทธิพลน้อยสุด คือด้านความคาดหวังในความพยายาม (β = .795)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). D.DOPA โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/63 /mt0309_v25388.pdf
กิตติพันธุ์ จันทร์สละ และ รวิดา วิริยกิจจา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Digital ID) ของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์สำนักงานใหญ่. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562 (น.1543-1553). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชรินทร์ เขียวรัตนา. (2563). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ QR Code ผ่านสมาร์ทโฟน กรณีศึกษา ลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ณภัคอร ปุณยภาภัสสร. (2551). AIDA Model. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565. จาก ttp://punyapapassorn.blogspot.com/2010/08/aida-model.html
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15) นนทบุรี: อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พรพรรณ ตันเจริญ และ อริสา สะอาดนัก .(2564). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันของธุรกิจขนส่งอาหารของผู้บริโภค เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ภุชงค์ สุภาสาคร, ฐานิดา จิตรสุภาพ และ เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันขนส่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 141-155.
ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สรวรรณ อินทโสตถิ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้แอพบริการสารสนเทศของหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคภาครัฐ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์, สุภาภรณ์ ศรีดี, กานต์ บุญศิริ และ จิตตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2565). การยอมรับแอปพลิเคชันภาครัฐของประชาชน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 162-174.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA Live Ep.5: ลงทะเบียน D.DOPA ติดต่อราชการแบบออนไลน์ได้เลย. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/DDOPA-in-ETDA-Sandbox.aspx.
สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
เสาวลักษณ์ พูลทรัพย์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของสำนักงานประกันสังคม. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
Albersher, A. and Laurence, B. (2014). Trustworthiness as a Source of Long-Term e-Government Adoption. Retrieved 22 March, 2023 from https://www.researchgate.net/publication/301485974_Trustworthiness_as_a_Source_of_Long-Term_e-Government_Adoption.
Amoako-Gyampah, K. (2007). Perceived usefulness, user involvement and behavioral intention: an empirical study of ERP implementation. Computers in Human Behavior, 23(3), 1232-1248.
Belanger, F., and Carter, L. (2008). Trust and risk in e-government adoption. The Journal of Strategic Information Systems, 17(2), 165-176.
Chu, A. Z. C. and Chu, R. J. C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.
Clark, C. (2000). Coming Attraction Consortiums, providers and vendors are joining ranks to make good on the 3G hype. Wireless Review, 17, 12-16.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., and Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.
Gao, S., Krogstie, J., and Siau, K. (2014). Adoption of mobile information services: An empirical study. Mobile Information Systems, 10(2), 147-171.
Junadi and Sfenrianto. (2015). A Model of Factors Influencing Consumer’s Intention to Use E-payment System in Indonesia. Procedia Computer Science, 5, 214-220.
Kim, H.-b., Kim, T. T., and Shin, S. W. (2009). Modeling roles of subjective norms and e-Trust in customers' acceptance of airline B2C eCommerce websites. Tourism management, 30(2), 266-277.
Lu, J., Yao, J. E., and Yu, C.-S. (2005). Personal innovativeness, social influences and adoption of wireless Internet services via mobile technology. The Journal of Strategic Information Systems, 14(3), 245-268.
Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2,49-60.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (4th ed.). New York: Routledge.
Venkatesh, V., Davis, G.B., and Morris, M.G. (2003). User acceptance of information technology. Toward a unified view MIS Quarterly, 27(3), 425-478.
Venkatesh, V., Thong Y. L. James, and Xin Xu. (2012). Consumer acceptance and use of information technology: extending the unified theory of acceptance and use of technology, MIS Quarterly, 36(1), 157-178.
Wu, W.-W. (2011). Developing an explorative model for SaaS adoption. Expert systems with applications, 38(12), 15057-15064.
Zikmund, W. G. et al.. (2010). Business research methods (8th ed.). Australia: South Western Cangage Learning.