การท่องเที่ยวเชิงอาหาร : พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาหาร ใช้ระยะเวลาในการวิจัยคือช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวจำนวน 394 คน เก็บข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารหรือใกล้เคียง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากการวิจัยพบว่า1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมามีวัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวหรือเยี่ยมชมสถานที่ นักท่องเที่ยวมีความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามต่อเดือนนานๆ ครั้ง ส่วนมากพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง คือ รถยนต์ส่วนตัว มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางหนึ่งพันบาทหรือต่ำกว่า และมีการทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารจากอินเตอร์เน็ตหรือโซเซียลเน็ตเวิร์ค 2) มีความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาหารจังหวัดมหาสารคามต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพื่อสุขภาพในปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13 เมื่อมาพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวฯที่สูงที่สุดคือ มีการส่งเสริมการขาย เช่น ทดลองชิมฟรี ขายเป็นชุดหรือมีส่วนลด เป็นต้น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.40
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤติเดช อนันต์ และเกศรา สุกเพชร. (2563). แนวทางการสร้างความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทยผ่านคุณค่าเชิงประสบการณ์. Thai Journal of Science and Technology (TJST), 8(6),40-55.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2556). ททท.มุ่งเป้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
ชวรินทร์ สุดสวาท. (2565). การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นบ้านล้านนา. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1),405-417.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการเดินทางเองกรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอาเซียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 304-318.
ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษรและปทุมมาลัย พัฒโร. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสารวจของแรงจูงใจนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดภูเก็ตประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 15(1),1-27.
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2565). ยกระดับความสามารถอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยด้วยงานวิจัย มุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูง เน้นความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาวตร์
วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
อัตตนาถ ยกขุน. (2564). แนวทางการพัฒนาการทองเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(2).60-72.
Chua, B.L., Jin, N.,Lee, S. and Goh, B.,2014,Influence of mechanic, functional,and humanicclues on customers’ experiential values and behavioral intentions in full-service restaurants, J.Foodserv.Bus. Res.17(2): 67-84.
Long, K. (2019). Culinary Tourism. Lexington, KY : University Press of Kentucky.
McKercher et al. (2008). Food tourism as a viable market segment: it's all how you cook the numbers. Journal of Travel & Tourism Marketing, 137-148.
Chaithawat Siribowonphitak (2021). TOURIST BEHAVIOR ON THE NEW NORMALITY IN MAHA SARAKHAM PROVINCE. Dusit Thani College Journal, 15(3), 199–211. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/253866
Tsai, C. and Wang,Y.(2017).Research paper: Experiential value in branding food tourism, Manage.6(1): 56-65.
World Tourism Organization. (2019). Global report on food tourism. Madrid, Spain: AM report.