ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมมือถือ จากประเทศจีนผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

DEPING KONG
ฐิตารีย์ ศิริมงคล
ร่มสน นิลพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาด 6P’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมมือถือจากประเทศจีนที่สั่งซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 23-30 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพอิสระ รับจ้างไม่ประจำ นักศึกษา โดยมีรายได้เฉลี่ยที่ 10,001 – 20,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6P’s พบว่าทั้ง 6 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านราคา และพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6P’s ที่ส่งผลเชิงบวกต่อ           การตัดสินใจซื้อทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางจัดจำหน่ายตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้ สามารถร่วมกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมมือถือจากประเทศจีนที่สั่งซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 41.7, 50.3, 54.9, 57.8 ตามลำดับ (adjusted R2 =.417, .503, .549,.578) ในส่วนของส่วนประสมทางการตลาด 6P’s ทางด้านราคา และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมมือถือจากประเทศจีนที่สั่งซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ธนัชชา สิทธิตถะวงศ. (2556). แผนธุรกิจจําหน่ายเคสโทรศัพท์มือถือ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, มหาวิทยาลัยกรงุเทพ).

ธนัญชกร ธนโชติอลงกร และ ธนกร สิริสุคันธา. (2564).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(3), 64-78.

ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).

นิษฐเนตร์ จำนง. (2559). แรงจูงใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันSHOPEE ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระ สาขาการบัญชีคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปฐณวิกรณ์ฐิตา ภัทรภิญโญ, พุฒิธร จิรายุส และภัสสิรีวร เวชธนกุล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโชว์ห่วยผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee, วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 111-132.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพิเคชั่นออนไลน์(ลา-ซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).

เมธ์จีรารัตน์ พั้วคุณ., (2560) การซื้อสินค้าผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e - Marketplace) ของประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

รวิภา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธฤกษ์วรารักษ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร NPSO โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 -วันที่ 1 เมษายน 2564. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เรวดี ฉลาดเจน และ ชาตยา นิลพลับ. (2564).ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y.วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (Online), 11(2), 91-103.

วริศรา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธฤกษ์ วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ทีส่งผลต่อพฤติ- กรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่าน เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1),99-118.

วันวิสา ก้อนนาค. (2562). ปัจจัยทีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ตลาดนัดธนบุรี เขตทวีวัฒน กรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก).

สาธิยา เขื่อนคำ. (2562). ผู้ค้าจีนรุ่นใหม่กับการขยายอิทธิพลทางการค้าอีคอมเมิร์ซ : กรณีผู้ค้าจีนรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social SciencesChiang Mai University. Journal of Social Development, 21(2), 119-139.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2564). ประชากรจากการทะเบียน อัตราเพิ่ม และความหนาแน่นของประชากร เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2559 - 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565, จาก http ://khonkaen.nso.go.th/images/document/report/64/64-1.pdf.

สุณิสา ตรงจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุภารัตน์ ศรีสว่าง และถนอมพงษ์พานิช. (2564). ทัศนคติความไว้วางใจและส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กของบุคคลกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1),183-192.

หงสา ปลาทอง. (2563). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์และคุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Ibiz. (2019). วิวัฒนาการการซื้อขายแห่งช่องทางแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จากhttps://www.prosoftibiz.com.

Siddiqui, K. (2003). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate StatisticalTech-niques. World Applied Sciences Journal, 27(2), 285-287.

Thaimobilcenter. (2020). 10 อันดับสินค้านำเข้าจากประเทศจีน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2565, จากhttps:www.thai- mobilecenter.com/.